ฝีดาษลิง

ทำความรู้จักกับฝีดาษลิง : Monkeypox

โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) จัดอยู่ในจีนัสไวรัสออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด เช่น ไวรัสวัคซิเนีย (vaccinia virus), ไวรัสฝีดาษวัว (cowpox virus), ไวรัสวาริโอลา (variola virus) เป็นต้น เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคน หรือไข้ทรพิษ ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับ ตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และ ต่อมน้ำเหลืองโต  โรคนี้ถูกพบครั้งแรกในลิง จึงตั้งชื่อว่า ฝีดาษลิง  
โรคฝีดาษลิง ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก ในปี พ.. 2501 จากลิงที่ป่วย อย่างไรก็ดี พบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.. 2513 ที่ประเทศคองโก โรคฝีดาษลิง นั้นเป็นโรค     ติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่พบในอัฟริกากลางและตะวันตก นอกจากลิงแล้ว สัตว์อื่นก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เช่นกัน เช่น กระรอก หนู ลิง ตัวแพรี่ เป็นต้น 

ฝีดาษลิง มีกี่สายพันธุ์ และสายพันธุ์ไหนเป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง

โดยมีไวรัส 2 สายพันธุ์หลักคือ แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ซึ่งสายพันธุ์แอฟริกากลางเป็น สายพันธุ์ที่มีการรายงานติดต่อจากคนสู่คน

ระยะเวลาในการฟักเชื้อ และแต่ละช่วงมีอาการแสดงอย่างไร?

1. การติดต่อ จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจอย่างไรก็ดีการติดเชื้อแบบแพร่กระจายเป็นวงกว้างจากคนสู่คนยังเกิดขึ้นน้อยหลังการได้รับ เชื้อ ไวรัสจะอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และใช้เวลาฟักตัว 7-21 วัน จึงแสดงอาการ
2. เริ่มจากการมีไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต 1-2 วัน จึงมีผื่น ผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่มีไข้ โดยผื่นจะเริ่มจากมีแผลในปาก จากนั้นจะเริ่มมีผื่นขึ้นที่ตัว หน้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า โดยผื่นจะมีขนาด 2-10 มิลลิเมตร
3. ในช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา ผื่นจะค่อยๆ เปลี่ยนจากผื่นนูนแดง เป็นตุ่มน้ำ แล้วจึงเป็นฝี โดยผื่นจะเปลี่ยนรูปแบบพร้อมๆกัน ทั่วทั้งตัวหลังตุ่มหนองแตกจนแห้งดี ผู้ป่วยก็จะ อาการดีขึ้น และหมดระยะในการแพร่กระจายให้ผู้อื่น
ฝีดาษลิง

เเนวทางการรักษาเเละป้องกัน

  • ขณะนี้ไม่มีวิธีรักษาฝีดาษลิง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ดีโรคฝีดาษลิง สามารถป้องกันได้โดยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคอยู่ห้องแยก สวมหน้ากากอนามัย และใส่เสื้อคลุมปกปิดผื่นทั้งหมด จนผื่นหายดีและตกสะเก็ด การรับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษในคน ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ได้ผล 85% ในการป้องกันฝีดาษลิง และบางครั้งก็ยังคงมีการใช้วัคซีนนี้อยู่ มีรายงานว่า สเปนกำลังเตรียมสั่งซื้อวัคซีนโรคฝีดาษหลายพันโดสเพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การได้รับวัคซีนหลังสัมผัสกับเชื้อโรคฝีดาษลิง อาจช่วยป้องกันโรคนี้ได้ หรืออาจทำให้มีความรุนแรงของโรคลดลง ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีน เฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง ชื่อว่าวัคซีน Ankara ซึ่งพบว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่าการให้วัคซีนโรคไข้ทรพิษ
โรคฝีดาษลิง
คำเตือนสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศเสี่ยง กรมควบคุมโรค ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และหากต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง ควรระมัดระวัง ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์พาหะ ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก และสัตว์ตระกูลไพรเมต เช่น ลิง หากมีการสัมผัสสัตว์ให้รีบล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด
  • หลังจากเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของโรคฝีดาษลิง ให้สังเกตอาการ หากพบมีความผิดปกติ เช่น มีไข้ มีตุ่มผื่นที่ใบหน้า แขน และขา ให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก รวมทั้งประทานอาหารที่ปรุงสุก เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์ หรือจากผู้ที่สงสัยป่วยหรือมีประวัติเสี่ยง ทั้งนี้ การแพร่เชื้อจากคนสู่คน แม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจ หรือผิวหนังที่เป็นตุ่ม

ข้อมูลโดย

นพ.ธาณินทร์ เจียมจันทร์คุปต์

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ Infectious Diseases

ศูนย์อายุรกรรมโรงพยาบาลปิยะเวท

เปิดทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น. โทร : 061-397-9275​