สูงวัยยิ้มได้ เดินดี ไม่มีล้ม

รู้หรือไม่ว่า ทุกๆ ปี จะมี 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุล้ม และการล้มนำไปสู่การบาดเจ็บตั้งแต่พิการไปจนถึงเสียชีวิตในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าร้อยละ 20-30 ของการล้มในผู้สูงอายุ เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพก หรือการบาดเจ็บของศีรษะและสมอง หรือแม้ว่าการล้มจะไม่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง แต่อาจทำให้ผู้สูงอายุกลัว ไม่กล้าที่จะทำกิจกรรมต่างๆ และนำไปสู่ภาวะถดถอยในที่สุด ถ้าคุณมีพ่อ แม่ หรือญาติสูงวัยที่ต้องดูแล การช่วยลดความเสี่ยงการล้มของพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เขาเหล่านั้นมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ทำไมผู้สูงอายุถึงล้มง่าย?

1. การทรงตัวและการเดิน (Balance and Gait) เมื่อเราอายุเยอะขึ้น ร่างกายจะเสียการยืดหยุ่น การทรงตัว ทำให้ง่ายต่อการล้ม
2.
การมองเห็น (Vision) การมองเห็นลดลง
3.
ยา (Medications) ยาบางชนิด อาจทำให้มึนงง
4.
สิ่งแวดล้อม (Environment) ส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยไม่เคยปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัยตามอายุที่เพิ่มขึ้น
5.
โรคเรื้อรัง (Chronic conditions) มากกว่า 80% ของผู้สูงอายุมีโรค เช่น เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ข้อเสื่อม ทำให้มีความเสี่ยงที่จะล้มมากขึ้น

8 วิธีลดการล้มในผู้สูงวัย

  • ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยง และวางแผนป้องกันการล้ม
  • ประเมินปัญหาเกี่ยวกับการกินยา หรือสังเกตอาการข้างเคียงจากยาที่ใช้อยู่เป็นประจำ
  • ตรวจการมองเห็น
  • ออกกำลังกาย เดิน ออกกำลังกายในน้ำ ไทเก๊ก เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อการทรงตัวและความยืดหยุ่น
  • ปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม เช่น รองเท้าไม่มีส้นพื้นรองเท้าที่ไม่ลื่น
  • ทำบ้านให้ปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น กล่อง กระดาษหนังสือพิมพ์ สายไฟต่างๆ พรม ซ่อมแซมพื้นให้เรียบและไม่ลื่น ปรับตำแหน่งของใช้ประจำให้หยิบใช้ได้ง่าย มีพื้นกันลื่นในห้องน้ำ มีราวจับที่มั่นคง เป็นต้น
  • แสงสว่างต้องเพียงพอ มีไฟสว่างตามจุดสำคัญ เช่น บันได ทางเดิน ห้องน้ำ ทำจุดเปิดไฟที่สามารถเปิดได้จากเตียงนอน สำหรับตื่นกลางดึก
  • มีอุปกรณ์ช่วยพยุงหรือกันล้ม เช่น ราวจับในห้องน้ำ
ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยอย่างใกล้ชิด ด้วยการมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการล้ม หรือหากเกิดการล้มและมีอาการบาดเจ็บ สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลปิยะเวท