Skip to content
TH
EN
AR
ZH-CN
บริการทางการแพทย์
ศูนย์อายุรกรรม
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
สถาบันกระดูกและข้อ
ศูนย์จักษุ และเลสิค
ศูนย์รักษาแผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ตรวจสุขภาพ
ศูนย์สูติ-นรีเวช
ศูนย์หัวใจ
ศูนย์กุมารเวชกรรม
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศูนย์สุขภาพและพัฒนาการเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมสมองและระบบประสาท
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ
ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ หู คอ จมูก
ศูนย์มะเร็ง
ศูนย์ทันตกรรม
ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต
ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหัวใจ
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ (IVF)
ศูนย์หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟู
ปิยะเวทออนไลน์ (Telemedicine)
ค้นหาแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์
แพ็กเกจ & โปรโมชั่น
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
บริการโรงแรมสถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ) ร่วมกับ โรงพยาบาลปิยะเวท
บัตรสมาชิกและบัตรเครดิต
อัตราค่าห้องพยาบาล
บทความเพื่อสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
X
Menu
บริการทางการแพทย์
ค้นหาแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์
แพ็กเกจ & โปรโมชั่น
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
บริการโรงแรมสถาน
อัตราค่าห้องพยาบาลโรงพยาบาลปิยะเวท
บัตรสมาชิกและบัตรเครดิต
บทความเพื่อสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
ภาษา
ความสำคัญของการตรวจ
ABI
คืออะไร และเหตุผลที่ต้องทำการตรวจ
การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หรือการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (
Ankle Brachial Index : ABI
) หรือเรียกว่า การตรวจ
ABI
คือ การตรวจหาการตีบตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขา เพื่อประเมินว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายหรือไม่ (
Peripheral Arterial Disease : PAD
) เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป
ภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (
PAD
)
ภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเป็นอาการแสดงที่สำคัญของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว หรือมีไขมันเกาะแทรกในหลอดเลือดซึ่งมีผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย และทำให้หลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรือตัน โดยเฉลี่ยมีโอกาสพบได้ประมาณ 12% ของแต่ละช่วงอายุ ในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี พบโรคนี้น้อยกว่า 3% แต่ในคนที่อายุมากกว่า 70 ปี พบถึง มากกว่า 20% ในผู้ที่มีภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบนั้น สามารถพบทั้งในเพศชายและเพศหญิงไม่ต่างกัน ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบแม้จะไม่มีอาการใดๆปรากฎ แต่ก็มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองสูง ซึ่งในความเป็นจริงผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบก็เสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ แม้ว่าจะไม่มีประวัติอาการสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบมาก่อนก็มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อย่างใกล้เคียงกัน
อาการและอาการแสดงแสดงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่ตรวจพบด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง
ABI
(
Ankle-brachial index
) จะไม่แสดงอาการต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น และทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นไม่พอ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดมากขึ้นขณะเดินร่วมกับเป็นตะคริวที่ขาหรือแขน ซึ่งเกิดได้จากการกระตุ้นหลังทำกิจกรรมแต่จะหายไปเมื่อได้พัก และตำแหน่งที่มีอาการปวดนั้นสัมพันธ์และขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีการตีบแคบของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ซึ่งจะพบได้บ่อยบริเวณน่อง และอาการที่ร้ายแรงของโรคนี้นอกจากทำให้มีความไม่สุขสบายเกิดขึ้นแล้วนั้น ยังสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วย
โดยจะมีลักษณะเฉพาะคือเป็นมากขึ้นหรืออาการแย่ลงขณะเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆ หายๆ ซึ่งทางการแพทย์เรียก
Intermittent Claudication
และเมื่อเส้นเลือดตีบเพิ่มมากขึ้นจะเกิดอาการปวดมากขึ้นขณะพัก หรือแม้พักแล้วไม่หายหรืออาการไม่ดีขึ้น นอกจากนี้อาการรุนแรงของโรค ยังมีอาการที่พบได้นอกจากที่กล่าวข้างต้น ดังนี้
- มีอาการปวด มีตะคริว บริเวณสะโพกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน บริเวณน่องหรือต้นขาส่วนบนเกิดหลังจากทำกิจกรรม เช่น การเดิน หรือขึ้นบันได
- ขาชาหรืออ่อนแรง
- อาการเย็นที่ขาส่วนล่างหรือฝ่าเท้า โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆของร่างกาย
- อาการปวดบริเวณนิ้ว ฝ่าเท้า หรือขา เมื่อพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- ขามีลักษณะสีที่เปลี่ยนแปลง อาจคล้ำขึ้นกว่าปกติ หรือร่วมกับมีลักษณะมันวาว
- ผมร่วง หรือ ยาวช้าบริเวณขาและฝ่าเท้า
- มีชีพจรที่เท้าเบา หรือไม่มีชีพจรที่เท้า
- ปวดหรือมีตะคริวเมื่อต้องใช้แขนทำกิจกรรม เช่น มีอาการขณะถักไหมพรม ขณะเขียน หรือประกอบกิจกรรมทั่วไป
เมื่ออาการของโรค
PAD
ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น ขณะพักหรือนอนอาการไม่ทุเลาลดลง ซึ่งจะรบกวนและทำให้ไม่สุขสบายเพิ่มมากขึ้น หรือแม้กระทั่งนอนพักก็ไม่สามารถพักได้ วิธีที่แนะนำให้ทำเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว คือการห้อยขาบริเวณขอบเตียงนอน หรือเดินรอบห้อง
ผู้ที่สมควรได้รับการตรวจ และอาการที่ควรรีบมาพบแพทย์
เมื่ออาการปวดหรือชาบริเวณขาเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่ไม่มีอาการแสดงของโรค แต่มีความเสี่ยงที่ต้องรีบตรวจคัดกรอง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ได้แก่
- อายุมากกว่า 65 ปี
- อายุมากกว่า 50 ปี ที่มีประวัติโรคเบาหวาน หรือประวัติสูบบุหรี่มาก่อน
- อายุน้อยกว่า 50 ปี ร่วมกับเป็นโรคเบาหวาน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
PAD
ได้แก่
- ภาวะอ้วน
- ความดันโลหิตสูง
- ประวัติสูบบุหรี่
- ภาวะโคเลสเตอรอลสูง
- ประวัติครอบครัวเป็นโรค
PAD
โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
- ผลการตรวจร่างกายพบว่า มีค่า Homocysteine และ Lipoprotein ที่สัมพันธ์กับการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคเรื้อรังอื่น ๆ
หลักการตรวจ
ABI
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั่วร่างกาย (
Total Body Vascular
) เป็นการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นสำหรับโรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ขา ทำได้โดยการวัดดัชนีความดันที่ข้อเท้า เปรียบเทียบกับค่าความดันของแขนในแต่ละข้าง (
Ankle Brachial Pressure Index, ABI
) เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดข้างนั้น ๆ
หรือไม่ค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงควรมากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 ค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่น้อยกว่า 0.9 แสดงว่าน่าจะมีปัญหาการอุดตัน และถ้าตรวจเพิ่มเติมโดยการถ่ายภาพรังสีหลังการฉีดสีในเส้นเลือดแดงแล้ว ผลที่ได้พบว่า 95% มีภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
การตรวจวัดค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของโรคได้ โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหรือแขนขาอ่อนแรงและมีอาการปวดมากเมื่อออกกำลังกายจะมีค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงอยู่ระหว่าง 0.5 – 0.8 ในกรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์ระบบหลอดเลือดเพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนแสดงอาการเนื้อเยื่อส่วนปลายของขาขาดเลือดไปเลี้ยงจนเกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตายนั้น มักมีค่าการแข็งตัวของหลอดแดงต่ำกว่า 0.5 ซึ่งกรณีนี้จะถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบทำการรักษาทันที
การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการรักษา
เมื่อทำการวัดผู้ป่วยต้องนอนราบ โดยระดับของแขนและขาอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบายที่สุดและไม่ควรพูดคุย สัมผัส
Cuff
หรือขยับแขนขาขณะที่ทำการตรวจวัดเพราะจะทำให้ค่าที่วัดได้ไม่เที่ยงตรง และยังทำให้ใช้เวลาในการวัดจนกว่าจะได้ค่านานขึ้นกว่าที่ควร เนื่องจากต้องทำการวัดซ้ำ หากเจ็บหรือผิดปกติใด ๆ ระหว่างทำการวัด เจ้าหน้าที่จะทำการหยุดเครื่องทันที สำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่เหล็กดามกระดูกที่แขนหรือขาไม่สามารถทำการตรวจวัดค่านี้ได้