ศูนย์แพทย์แผนจีนโรงพยาบาลปิยะเวท

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

คือภาวะหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นภาวะที่มีการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกแบบควบคุมไม่ได้ มักพบในวัยกลางคนทั้งในเพศหญิงและชาย ขณะที่กล้ามเนื้อกระตุก เปลือกตาในใบหน้าซีกนั้นจะหดเกร็งจนอาจปิดสนิทและมุมปากจะถูกดึงรั้งขึ้นไป โดยการกระตุกจะคงกระตุกแม้ผู้ป่วยนอนหลับ หากพบความเครียด และอารมณ์ตื่นเต้นจะทำให้มีอาการมากขึ้น

สาเหตุของโรค

เกิดจากเส้นเลือดในสมองไปกดเบียดต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial nerve) ทำให้เส้นประสาทถูกกระตุ้นตลอดเวลา เกิดอาการของโรคต่างๆดังที่ได้กล่าวข้างต้น โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 จะมีหน้าที่ในการสั่งการกล้ามเนื้อใบหน้า รวมถึงการแสดงสีหน้า รับรสชาติจากลิ้นด้านหน้า 2 ใน 3 ส่วน สั่งการต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตาให้หลั่ง เป็นต้น สาเหตุอื่นที่พบ ได้แก่ เนื้องอก อุบัติเหตุ เป็นต้น

ลักษณะของโรค

มีการกระตุก (contractions) ขึ้นเอง เป็นๆหายๆ (intermittent) ไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นจังหวะ
การกระตุกมักเป็นแบบ clonic และ tonic spasm คือกระตุกและมีการหดเกร็งร่วมด้วย
บางรายมีอาการ facial synkinesia ร่วมด้วย เช่น ตั้งใจยิ้มแต่ทำให้ตากระตุก เช่นกรณีที่เส้นประสาทงอกผิดตำแหน่ง เป็นต้น

ตำแหน่งที่เป็น

กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทที่ 7 เปลือกตา มุมปาก มักเป็นข้างไดข้างหนึ่ง ส่วนใหญ่เริ่มต้นกระตุกที่กล้ามเนื่อรอบตาก่อน(orbicularis oculi) เมื่อเป็นมากขึ้น มักจะกระจายไปที่แก้มและกล้ามเนื้อรอบปาก(orbicularis oris) อาจมีการหดเกร็ง และมุมปากถูกรั้งขึ้นไป

การรักษา

1. ใช้การผ่าตัดวางวัสดุคล้ายฟองน้ำ (Sponge) เพื่อแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาท (Facial nerve decompression) แต่มีข้อเสียคือ การได้ยินจะเสีย (CN 8 ติดกับ CN 7) หรือกล้ามเนื้อหน้าอ่อนแรง
2. Botulinum toxin โดยการฉีดโบทอกซ์ โดย neuromed หรือ eye ฉีดที่กล้ามเนื้อที่มีการกระตุกลดอาการได้ ออกฤทธิ์ 2-3 วัน ได้ผลนาน 3-4 เดือน
3. ยา benzodiazepine เช่น lorazepam อาจช่วยลดการกระตุกได้ ไม่ได้เป็นยารักษาโดยตรงแต่ช่วยลดความกังวล

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemificial spasm) กับการรักษาทางการแพทย์แผนจีน

แพทย์จีนมองว่า การที่ใบหน้ากระตุกนั้นมีสาเหตุมาจาก

1. เชื้อโรคภายนอกมากระทบเส้นลมปราณ และอาจเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน โดยสาเหตุเหล่านี้จะทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนติดขัด ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเกิดการหดเกร็งและกระตุกได้
2. อินพร่องเลือดน้อย โดยอินในทางแพทย์จีนก็คือสารน้ำในร่างกายนั่นเอง หากเลือดน้อยไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นลมปราณในร่างกายได้ก็จะทำให้เกิดการกระตุกนั่นเอง

โดยโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม เพื่อคลายเส้นลมปราณ และระงับอาการกระตุก

โดยจุดที่ใช้ได้แก่
1. จุด ชวนจู๋ (攒竹)
2. จุด อี้เฟิง (翳风)
3. จุดไท่หยาง (太阳)
4. จุดฉวนเหลียว (颧髎)
5. จุดเหอกู่ (合谷)
6. จุดไท่ชง (太冲)
โดยการฝังเข็มนั้นควรเข้ารักษากับแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ หากสามารถเข้ามารักษาเป็นคอร์สสักอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ประสิทธิภาพการรักษาก็จะดียิ่งขึ้น การรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นเป็นการรักษาด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ทำให้ร่างกายรักษาตัวเอง ลดการใช้ยา ไม่เกิดผลข้างเคียงแต่อย่างใด จึงเป็นที่นิยมอย่างมากวิธีหนึ่ง