
ปักรากฟันเทียมกับศูนย์ทันกรรมโรงพยาบาลปิยะเวท
จะดีแค่ไหน เมื่อฟันซี่ใหม่ ทดแทนฟันที่เสียไป...
Dental Implant คือ การทำฟันปลอมแบบติดแน่น (fixed prosthesis) แบบหนึ่ง โดยทดแทนฟันที่สูญเสียไป จากเหตุต่างๆเช่นอุบัติเหตุฟันแตกหักหรือรอยโรคที่เกิดจากภาวะฟันผุมากเมื่ออายุมากขึ้น เหตุเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมต่างๆเป็นต้นโรคเหงือกหรือเหงือกและกระดูกร่นตามความเสื่อมและตามวัย ที่ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลปิยะเวท เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษา ซึ่งสามารถบูรณะฟันซี่ใหม่ ทดแทนฟันที่เสียไปได้ การรักษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนงานศัลยกรรม (surgery) 2.ส่วนงานทันตกรรมประดิษฐ์ (prosthesis) รากฟันเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากโลหะไททาเนียมที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการ
ทำฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่ถูกถอน หรือหลุดไปให้สามารถใช้งานได้ไกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุดและเป็นการถือว่าเป็นการใส่ฟันทดแทนฟันที่หายไปได้ดีที่สุด และ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

ส่วนประกอบของรากฟันเทียม
ส่วนรากเทียมที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant body or fixture): คือ ส่วนของรากเทียมโลหะไททาเนี่ยมรูปร่างเป็นเกลียวเหมือนสกรูฝังลงไปใน กระดูกขากรรไกร เพื่อให้มีการยึดติดกับกระดูกขากรรไกรทำหน้าที่เหมือนรากฟัน
Implant abutment: ส่วนยึดต่อระหว่าง implant body และส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ทำจากไททาเนียมหรือเซรามิค ทำหน้าที่แทนส่วนของตัวฟัน
ส่วนทันตกรรมประดิษฐ์
Prosthetic component คือ ส่วนของครอบฟันที่จะยึดอยู่บนรากฟันเทียม เช่น ครอบสะพานฟัน ฟันเทียมถอดโดยเชื่อมต่อกับ implant abutment โดยใช้กาวทางทันตกรรมยึดหรือสกรูทำหน้าที่เป็นตัวฟันที่ใช้บดเคี้ยว
ข้อดี ของรากฟันเทียม
ทดแทนฟันที่เสียไปเพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติและใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง สามารถบดเคี้ยวได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องการออกเสียง ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติคง ทนและถาวร ป้องกันการสูญเสียฟันซี่ข้างเคียง
ชนิดของรากฟันเทียม
รากฟันเทียมแบ่งได้หลักๆ เป็น 3 ชนิด คือ Conventional Immediate implant และ immediate loaded implant จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพภายในช่องปาก และประสบการณ์ของทันตแพทย์
Conventional Implant
คือ การฝังรากเทียมโดยทั่วไปขั้นตอน คือ ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิมพ์ปากและ x-ray ในบางตำแหน่งอาจจะต้องทำ CT Scan ร่วมด้วยเพื่อทำการวางแผนการรักษา จากนั้นจะนัดหมาย ผ่าตัดเล็กฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และรอกระดูกยึดติดกัน ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก โดยทันตแพทย์ก็จะทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเทียม ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1-4 สัปดาห์ กรณีผู้มีปริมาณของกระดูกน้อยมากๆ ในบริเวณที่จะทำการฝังรากเทียม ต้องปลูกกระดูกก่อนหรือในบางรายอาจจะปลูกกระดูกไม่ได้ ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำ
Immediate implant
คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของ กระดูก ลดโอการการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีปัญหาที่ปลายรากฟัน ของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึด
Immediate loaded implant
คือ การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ทำการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้มาก ให้ความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้มีอยู่มาก
ชนิดของส่วนทันตกรรมประดิษฐ์
ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธี เช่น การทดแทนฟัน 1 ซี่ ในกรณีที่มีฟันหายไปเพียง 1 หรือ 2 ซี่ การใส่ฟันเทียมติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือ รากฟันเทียม และสะพานฟัน แต่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีใส่ฟันที่ให้
ผลสำเร็จดีที่สุด และมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน คือ ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และสะพานฟันมีส่วนของครอบฟัน ติดกันทั้งหมด หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหาจะต้องรื้อออกทั้งหมด
ในกรณีที่ฟันหายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ แบบติดแน่น ทันตแพทย์จะทำการฝังราก เทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะทำการฝังรากฟันเทียมจำนวน 2 – 4 ตัว วิธีการก็จะแตกต่างกันไป
ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยรากฟันเทียมได้ทุกคนโดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้า และขากรรไกร ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม
การฝังรากฟันเทียม (DENTAL IMPLANT) ปัจจัยสำคัญ คือ คนไข้ต้องการฟันเทียมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ต้องการยิ้ม และพูดคุยอย่างมั่นใจ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดีปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมในกรณีที่ฟันหายไป รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีฟันหายไปจำนวนมาก อาจใช้รากฟันเทียมจำนวนหลายซี่เป็นฐานสำหรับสะพานติดแน่นหรือเป็นฐานสำหรับฟันปลอมแบบถอดได้ ในกรณีฟันปลอมถอดได้จะทำให้ฟันปลอมแน่นแต่ก็ยังสามารถถอดฟันออกได้