คนไทย 1 ใน 3 มักจะป่วยด้วยโรคข้อ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งพบได้มากที่สุด
(ที่มา : มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
“โรคข้อเสื่อม“ คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ สึกกร่อน บางลง ส่งผลให้เวลาเคลื่อนไหวร่างกายแล้วกระดูกข้อต่อจะเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ ทำให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม
อายุกระดูกและผิวกระดูกอ่อนเสื่อมลงตามอายุ ผู้ที่อายุ 65 ปีพบว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าร้อยละ 50
เพศ ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า
น้ำหนัก การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานทำให้กระดูกและข้อต้องรองรับน้ำหนักมากเกินไป
พฤติกรรม เช่น การนั่งงอเข่า แบกของหนักบ่อยๆ ขึ้นลงบันไดมากเกินไปใส่รองเท้าส้นสูงนานๆ
กรรมพันธุ์ นักวิจัยพบยีนหลายตัวที่สัมพันธ์กับโรคข้อเสื่อม
อุบัติเหตุ การล้ม การเล่นกีฬา หรือเคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อ
5 สัญญาณโรคข้อเสื่อม
1. ปวดข้อตลอดวัน มักปวดมากเวลาใช้งาน บางครั้งอาจปวดตอนกลางคืน จนรบกวนการนอนหลับ
2. ข้อบวม กดแล้วเจ็บ
3. ข้อติด โดยเฉพาะหลังตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
4. เคลื่อนไหวลำบาก รู้สึกข้อฝืด ตึง
5. มีเสียงลั่นเมื่อขยับข้อนั้นๆ
การรักษา แบ่งตามความรุนแรงของโรค ได้แก่
เสื่อมน้อย : ไม่ใช้ยา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
ออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า
สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เช่น นั่งเหยียดขาเกร็งกล้ามเนื้อ
ควบคุมน้ำหนักตัว
กายภาพบำบัด
ใส่สนับเข่า เพื่อพยุงข้อและป้องกันการบาดเจ็บ
เสื่อมปานกลาง : ใช้ยา หรือผ่าตัด
ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ
ยาชะลอความเสื่อม
การฉีดยาเข้าข้อเข่า เพื่อลดการอักเสบเฉียบพลัน
ผ่าตัดโดยใช้กล้อง
กายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย
เสื่อมมาก : ผ่าตัด
ผ่าตัดแก้ไขแนวกระดูก (ในกรณีผิวข้อเสื่อมบางส่วน)
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม