ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหัวใจ

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด หรือเคยทำการสวนหัวใจ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด เคยได้รับการผ่าตัดหัวใจ เช่น การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (ICD)  ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ (CRT-D)

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดคือ

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการออกกำลังกาย จะช่วยให้คุณรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายของคุณให้แข็งแรงขึ้น จะทำให้คุณมีพลังงานมากขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นมีสุขภาพจิตที่ดี และลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ โปรแกรมออกกำลังกายจะขึ้นอยู่กับความสามารถของความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล ให้การแนะนำและเรียนรู้เรื่องโรคหัวใจของคุณ จะทำให้คุณรู้จักวิธีที่จะไม่ให้กลับมาเป็นโรคหัวใจอีก นอกจากนั้นแล้ว เราจะให้คำแนะนำวิธี ที่จะทำให้สุขภาพชีวิตของคุณดีขึ้นและแข็งแรงขึ้น และทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดนั้นปลอดภัย งานวิจัยในต่างประเทศได้พบว่าการที่จะเกิดปัญหาจากการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด หรือเกิดอันตรายนั้นน้อยมาก และสิ่งที่สำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูบำบัดหัวใจและปอดมีประสบการณ์ที่จะช่วยคนไข้ในภาวะฉุกเฉินและมีเครื่องมือพร้อมที่จะรับสถานการณ์

จากการศึกษาพบว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ จะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจมากมาย ดังนี้

1. ช่วยลดโอกาส การเกิดภาวะ หัวใจวายเฉียบพลัน ได้ถึง 20 – 40 %
2. ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคหัวใจ ได้ถึง 20 – 25 %
3. ลดอัตราการเกิดซ้ำของโรคและการกลับเข้าอยู่โรงพยาบาลได้ 25 -30 %
4. อาจช่วยลดภาวะตีบของ หลอดเลือดหัวใจ ได้
5. การทำงานของเซลล์, ผนังหลอดเลือดของร่างกายดีขึ้น
6. ช่วยป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้น
7. ช่วยให้ สมรรถภาพหัวใจ และร่างกายโดยรวมดีขึ้น
8. ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันให้ดีขึ้น

บุคคลที่ควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

1. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผิดปกติ, และน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ
2. ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease)
3. ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Ischemic Heart Infraction)
4. ผู้ป่วยที่มีภาวะ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว (Congestive Heart failure)
5. ผู้ป่วยหลังการ ทำบอลลูน หลัง การผ่าตัดหัวใจ หลัง การผ่าตัดลิ้นหัวใจ (Post PCI,Post CABG)
6. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
7. ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ( Peripheral Artery Disease )