
ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันได้ มั่นใจทุกช่วงวัย
- สุขภาพร่างกายที่ดี หาซื้อไม่ได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรมองข้ามการดูแลตัวเองและหมั่นไปตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคัดกรองความเสี่ยง ป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- พร้อมรับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงต่อไปในระยะยาว ร่างกายของคนเรามีการทำงานตลอดเวลาไม่เคยหยุดพัก แม้ในขณะที่กำลังนอนหลับ ส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานและอายุ ประกอบกับลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพศ วัย โรคประจำตัว หรือแม้กระทั่งการที่บุคคลในครอบครัวเป็นหรือเคยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางกรรมพันธุ์ได้ ทั้งหมดย่อมทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่ต่างกัน การบำรุงรักษาและตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพ ค้นหาความเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สร้างความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือในกรณีที่เริ่มมีอาการผิดปกติก็จะได้หาแนวทางการป้องกันรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อไม่ให้ลุกลามกลายเป็นโรคต่อไป
- สุขภาพร่างกายที่ดี หาซื้อไม่ได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรมองข้ามการดูแลตัวเองและหมั่นไปตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคัดกรองความเสี่ยง ป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- พร้อมรับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงต่อไปในระยะยาว ร่างกายของคนเรามีการทำงานตลอดเวลาไม่เคยหยุดพัก แม้ในขณะที่กำลังนอนหลับ ส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานและอายุ ประกอบกับลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพศ วัย โรคประจำตัว หรือแม้กระทั่งการที่บุคคลในครอบครัวเป็นหรือเคยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางกรรมพันธุ์ได้ ทั้งหมดย่อมทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่ต่างกัน การบำรุงรักษาและตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพ ค้นหาความเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สร้างความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือในกรณีที่เริ่มมีอาการผิดปกติก็จะได้หาแนวทางการป้องกันรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อไม่ให้ลุกลามกลายเป็นโรคต่อไป

ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท มีความพร้อมที่จะให้บริการด้านการตรวจสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ได้แก่
การตรวจสุขภาพ มีโปรแกรมการตรวจสุขภาพหลากหลายให้เลือก ออกแบบขึ้นอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้รับบริการแต่ละบุคคล ตั้งแต่โปรแกรมการตรวจสายตา โปรแกรมการตรวจสุขภาพคู่รัก โปรแกรมการตรวจสุขภาพทั่วไปในแต่ละช่วงวัย เป็นต้น
การตรวจสุขภาพนอกสถานที่ เรามีความพร้อมในการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่พนักงานบริษัทในสถานที่ทำงานด้วยการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ร่วมกับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการคัดกรองโรค และให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ทุกท่านมีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างเต็มที่
การให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากทีมงานและบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การให้คำแนะนำทางโภชนาการด้านอาหารแก่ผู้รับบริการอย่างถูกต้องและเหมาะสมโดยโภชนากรผู้เชี่ยวชาญ การให้คำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางในแต่ละระบบ
การป้องกันโรค เราตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเกิดโรคต่างๆ ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจถึงโรคต่างๆ รวมถึงการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น
หัตถการ / เทคนิคการรักษา
รายการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลปิยะเวท ประกอบไปด้วย
- การตรวจวัดพื้นฐาน เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความดัน
- การวัดสัญญาณชีพ
- การหาค่าดัชนีมวลกาย
- การเอ็กซ์เรย์ฟันในปาก
- การตรวจวัดระดับการมองเห็น
- การตรวจวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์
- การตรวจวัดความดันลูกตา
- การตรวจตาด้วยเครื่องมือ
- การตรวจจอประสาทตา
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- การตรวจหากรุ๊ปเลือด
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- การตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1C)
- การตรวจคลอเรสเตอรอล (Total Cholesterol)
- การตรวจไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- การตรวจไขมันชนิดดี (HDL)
- การตรวจไขมันชนิดไม่ดี (LDL)
- การวัดปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด (BUN)
- การตรวจหาค่าครีเอตินิน (Creatinine plus GFR)
- การตรวจค่า ALT เพื่อประเมินการทำงานของตับ
- การตรวจค่า AST เพื่อประเมินการทำงานของตับ
- การตรวจค่า Gamma GT เพื่อตรวจสอบเซลล์ของตับและสภาวะการทำงานของตับโดยทั่วไป
- การตรวจวัดค่าเอนไซม์ Alkaline Phosphatase เพื่อตรวจหาค่าความผิดปกติและใช้ในการวินิฉัยโรคที่เกี่ยวกับตับและกระดูก
- การตรวจ Total Protein เพื่อตรวจปริมาณโปรตีนในเลือด
- การตรวจระดับ Albumin เพื่อตรวจโปรตีนที่สร้างจากตับ
- การตรวจระดับ Globulin เพื่อประเมินความเสี่ยงที่ร่างกายอาจเกิดการติดเชื้อ
- การตรวจค่า Total Bilirubin
- การตรวจค่า Direct Bilirubin
- การตรวจค่าเอนไซม์อะไมเลส (Amylase)
- การตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hbs ag)
- การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (Anti-Hbs)
- การตรวจหาว่าเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ (Anti-Hbc)
- การตรวจวัดระดับฮอร์โมน Thyroid Stimulating Hormone (TSH)
- การตรวจประเมินภาวะการทำงานต่อมไทรอยด์ (Free T3, Free T4)
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ (CEA)
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งกระเพาะอาหาร (CA 19-9)
- การตรวจสารบ่งชีมะเร็งตับ (AFP)
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA 125)
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA 153)
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
- การเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด
- การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (2 ส่วน)
- การตรวจค้นหามะเร็งเต้านม (ดิจิตอล)
- การตรวจมะเร็งปากมดลูก พร้อมเชื้อ HPV
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- การตรวจการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
- การตรวจระดับหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
- การตรวจแรงดันและการทำงานของหูชั้นกลาง (tympanometry)
- การตรวจการทำงานของประสาทหูหรือประสาทการได้ยินระดับก้านสมอง (auditory brain stem response: ABR)
- การตรวจการทำงานของเซลล์ขนในหูชั้นใน (otoacoustic emission: OAE)
- การตรวจระดับการได้ยินจากการตอบสนองทางสรีรวิทยาไฟฟ้า ณ ความถี่ต่างๆ (auditory steady state response: ASSR)
- การตรวจหากรดยูริคในเลือด
- การตรวจระดับวิตามินดี
- การตรวจการอักเสบของหลอดเลือดแดง CRP
- การตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ห้องตรวจร่างกายและให้คำปรึกษาที่เป็นสัดส่วน
- ห้องเจาะเลือด
- ห้องตรวจสัญญาณชีพและตรวจการมองเห็น
- ห้องตรวจภายใน
- ห้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
- ห้องฉายภาพรังสีและห้องปฏิบัติการต่างๆ
- ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและล็อคเกอร์เก็บของ
- ห้องพักผ่อน พร้อมเคาน์เตอร์อาหารว่างที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
- งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- งดดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง
- ควรไปถึงโรงพยาบาลในช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรยเกินไป เนื่องจากงดน้ำและอาหารมาหลายชั่วโมงแล้ว
- หากกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต สามารถรับประทานต่อได้ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนการตรวจ
- หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจ หรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
- สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรตรวจในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน
- หากมีประจำเดือน ให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะและมีผลกระทบต่อผลการตรวจ
- หากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
- กรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่องดตรวจเอกซเรย์
เทคโนโลยีทางการรักษา
- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- เครื่องตรวจคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI)
- การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasound)
- การตรวจแมมโมแกรม (Mammography)
- เครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (Exercise Stress Test)
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ Computerized Tomography (CT Scan)
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือการตรวจสแกนร่างกายด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาความผิดปกติในบริเวณที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายในบริเวณที่ต้องการตรวจ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและสร้างภาพอวัยวะส่วนนั้นๆ โดยสามารถทำการตรวจเก็บข้อมูลได้มากถึง 64 ภาพ ในการหมุนของหลอดเอกซเรย์ 1 รอบ ทำให้ได้ข้อมูลละเอียด ครอบคลุมอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ครบในเวลาอันรวดเร็ว และยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาสร้างภาพใหม่ได้ทั้ง 2 และ 3 มิติ ในระนาบต่างๆที่ต้องการ รวมทั้งสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ 4 มิติได้ด้วย วิธีนี้แพทย์จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน เพื่อนำผลมาประกอบการวินิจฉัย และสามารถป้องกันรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ข้อดีของการตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- สามารถสแกนตรวจอวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่ได้
- ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะตรวจสแกน
- ภาพที่ได้มีรายละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวด์ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น
- สามารถสแกนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสแกนแบบ MRI
แพทย์จะเลือกการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เมื่อเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่ต้องการวินิจฉัยให้ผลการตรวจด้วยการเอกซเรย์ธรรมดาไม่ชัดเจน ซึ่งได้แก่
- เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่จะตรวจมีความหนามาก การถ่ายภาพได้เป็นแผ่นบางๆ จึงช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆ ได้ชัดเจนกว่า เช่น ตับ และปอด เป็นต้น
- เนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆ อยู่ลึก การถ่ายภาพเป็น 3 มิติ ที่สามารถตรวจภาพด้านความลึกได้ จึงช่วยให้เห็นภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆ ได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตับอ่อน และไต
- ต้องการตรวจให้พบพยาธิสภาพที่มีขนาดเล็กๆ เป็นมิลลิเมตร หรือไม่เกิน 1 เซนติเมตร เพื่อสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็นโรค เช่น การตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด เป็นต้น
- ตรวจอวัยวะที่ล้อมรอบด้วยกระดูก ซึ่งจะตรวจพยาธิสภาพไม่พบจากเอกซเรย์ธรรมดา เช่น ภาพสมอง
- ตรวจครั้งเดียววินิจฉัยโรคได้หลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ ซึ่งไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีการอื่นๆ รวมทั้งจากเอกซเรย์ธรรมดา เช่น การตรวจเนื้อเยื่อ/อวัยวะในช่องท้องทั้งหมดในการตรวจเพียงครั้งเดียว ที่เรียกว่า Whole abdomen CT scan
รายการตรวจสุขภาพประจำปี 2566
