Skip to content
TH
EN
AR
ZH-CN
บริการของเรา
บทความเพื่อสุขภาพ
แพ็กเกจ & โปรโมชัน
แพ็กเกจ & โปรโมชัน
บัตรสมาชิกและบัตรเครดิต
อัตราค่าห้องพยาบาล
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ค้นหาแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์
ติดต่อเรา
X
นพ. ตนัย ตรงกมลธรรม
ความเชี่ยวชาญ : กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา
ศูนย์กุมารเวชกรรมโรงพยาบาลปิยะเวท
ข้อมูลแพทย์
ภาวะชักจากไข้ คืออะไร?
คือภาวะชักที่เกิดจากไข้ เป็นสาเหตุของอาการชักที่พบได้บ่อยที่สุด ภาวะนี้จะเกิดในเด็ก ที่มีอายุ 6 เดือน – 5 ปี
โดยมีความ
ชัก
ร้อยละ 2-4 และพบบ่อยที่สุดที่อายุ 12-18 เดือน สิ่งสำคัญคือภาวะนี้ต้องไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของระบบประสาทหรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของเกลือแร่ และน้ำตาล เป็นต้น
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการที่สมองเด็กยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ การติดเชื้อไวรัสบางอย่างเช่น ไข้ผื่นกุหลาบ และวัคซีนบางชนิด โดยปัจจัยทางพันธุกรรมมีความสำคัญมากที่สุด เช่น เด็กที่มีคนในครอบครัวหรือญาติสายตรงมีประวัติ ชักจากไข้ จะมีโอกาสชักจากไข้มากขึ้น ร้อยละ 10-20 ปัจจุบันเราพบว่ายีนบางยีนก็มีความเกี่ยวข้องกับภาวะนี้
อาการและการแสดง
เด็กจะมีไข้ ร่วมกับอาการชักเกร็งกระตุก โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกจะเรียกว่า simple febrile siezure อาการชักจะเป็นแบบชักเกร็งกระตุกของแขนขาทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน (generalized siezure) ชักไม่เกิน 15 นาทีและสามารถหยุดชักได้เองโดยส่วนใหญ่มักไม่เกิน 5 นาที ไม่มีชักซ้ำ แต่มีคนไข้ส่วนหนึ่งที่มีอาการชักแบบเฉพาะที่ (focal seizure) ชักนานกว่า 15 นาที และชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงได้ซึ่งแบบหลังทางการแพทย์จะเรียกว่า complex febrile seizure
อาการที่บ่งบอกว่าอาจไม่ใช่ภาวะไข้ชัก
ลักษณะการชักเป็นแบบเฉพาะที่ (focal seizure) ชักซ้ำ ชักนาน เด็กซึม อาเจียนเยอะ หรือ ตรวจพบความผิดปกติทางระบบประสาท รวมถึงพัฒนาการล่าช้า
การวินิจฉัย
พิจารณาจากประวัติและการตรวจร่างกาย เป็นหลัก โดยต้องให้การวินิจฉัยแยกโรคอื่นออกไปก่อน เช่น การติดเชื้อทางระบบประสาท ภาวะเลือดออกในสมอง หรือความผิดปกติทาง
เม
ตา
บอ
ลิ
ก
เป็นต้น
ในเด็กเล็กโดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 12 เดือน การตรวจร่างกายอาจจะไม่เที่ยงตรง จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการ
ตรวจน้ำ
ไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยแยกโรคการติดเชื้อทางระบบประสาทซึ่งเป็นภาวะที่อันตราย ยกเว้น ในเด็กที่อาการทั่วไปดูดี ไม่ซึม และมีประวัติได้รับวัคซีน Hib หรือ Pneumococcus ครบ
การเจาะเลือด
เพื่อหาความผิดปกติทาง
เม
ตา
บอ
ลิ
ก
เช่น น้ำตาล โซเดียม แคลเซียม เป็นต้น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
อาจพิจารณาทำในกรณี complex febrile seizure ในผู้ป่วยมีอาการชักซ้ำโดยไม่มีไข้ร่วมด้วย ตรวจร่างกายพบความผิดปกติทางระบบประสาทรวมถึงพัฒนาการล่าช้า อายุไม่อยู่ในช่วง 6 เดือนถึง 5ปี หรือมีอาการชักจากไข้ตั้งแต่ 4
ครั้ง
ขึ้นไป
การทำ CT scan หรือ MRI สมอง?
ไม่มีความจำเป็นต้องทำในกรณี simple febrile seizure ยกเว้น จะพิจารณาทำก่อนการเจาะ
ตรวจน้ำ
ไขสันหลัง หรือตรวจร่างกายพบความผิดปกติทางระบบประสาท
การรักษา
ส่วนใหญ่เด็กที่หยุดชักแล้ว มักจะไม่ชักซ้ำ
การรักษาคือการให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้
รักษาสาเหตุของไข้ ไม่จำเป็นต้องให้ยากันชัก ยกเว้น ถ้าอาการชักยังดำเนินต่อมากกว่า 5 นาที
มีโอกาสชักซ้ำรึไม่?
มีโอกาสชักซ้ำโดยมีความเสี่ยงประมาณ 30-35%
โดยถ้ามีความเสียงดังต่อไปนี้จะมีโอกาสชักซ้ำเพิ่มขึ้น (1) อายุน้อยกว่า 1 ปี (2) ญาติสายตรงมีประวัติไข้ชัก (3) ชักขณะไข้ต่ำ และ (4) ชักหลังจากมีไข้ไม่กี่ชั่วโมง
จะมีผลต่อพัฒนาการหรือไม่?
ภาวะนี้ไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการหรือความฉลาดของเด็ก
เป็นลมชักในอนาคต
มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก ลักษณะชักแบบ complex febrile siezure หรือมีพัฒนาการล่าช้า
หลังจากอายุ 5-6 ปี ภาวะดังกล่าวจะหายได้เอง ถ้ายังคงชักอยู่จะต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ตั้งสติ จับผู้ป่วยตะแคงหรือหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
สังเกต
ลักษณะการชักรวมถึงระยะเวลา ไม่แนะนำให้เอานิ้วหรือสิ่งของใส่เข้าไปในปากเพื่อป้องกันการกัดลิ้น
เนื่องจากอาจเกิดการบาดเจ็บที่มากขึ้นร่วมกับเพิ่ม
ความเสี่ยง
การสำลักเข้าหลอดลม เมื่อหยุดชักหรือชักเกิน 5 นาที รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรเรียกรถพยาบาล
แนวทางป้องกัน ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีไข้
ให้รับประทานยาลดไข้ ร่วมกับเช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง ไม่ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเย็น
โดยเช็ดย้อนรูขุมขน จากล่างขึ้นบน ปลายมือปลายเท้าเข้าหาลำตัว ใช้ผ้าอีกผืนประคบบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ไหลผ่าน คือ บริเวณรักแร้ และขาหนีบ เป็นการลดความร้อนในตัวได้ดี
กินยากันชักป้องกันได้หรือไม่?
ปัจจุ
บัน
ยังไม่แนะนำให้กินยากันชักป้องกันช่วงมีไข้
เนื่องจากยามีผลข้างเคียงต่อเด็กและไม่ได้ป้องกันการเกิดโรคลมชักในระยะยาว ทั้งนี้อาจจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
สอบถามศูนย์กุมารเวชกรรม คลิก
Facebook
Line
Youtube
Phone