ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ (IVF)

ทางโรงพยาบาลปิยะเวทและศูนย์สุขภาพและความงามตรัยญาพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเสนอการบริการที่ครบวงจรให้แก่ผู้มาเข้ารักษาภาวะการมีบุตรยาก เมื่อท่านมาถึงที่นี่จะได้ พบการบรรยากาศที่สบาย ๆในขณะเดียวกันก็จะพบกับความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่ได้ รับใบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานการบริการจาก JCI ทำให้ท่านได้รับการดูแลรักษาทั้ง
สภาพร่างกายและจิตใจซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตัวท่านเอง และจะส่งเสริมตัวท่าน นั้นเป็นคุณแม่ที่สมบูรณ์พร้อมยิ่งขึ้น
ทำไมต้องทำเด็กหลอดแก้วที่โรงพยาบาลปิยะเวท
• เปิดให้บริการ >10 ปี
• อัตราความสำเร็จ >75%
• แพทย์เฉพาะทางด้านการรักษามีบุตรยากประสบการณ์ >400 เคส/ปี มาตรฐาน การรักษาเทียบเท่าระดับสากล
• นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนประสบการณ์มากกว่า >20 ปี ทำเคส ICSI >1,000 เคส/ปี
• ห้องแลปเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้มาตรฐานระดับสากล อาทิ เช่น กล้องมีความละเอียดสูง
• หัตถการภายใน IVF-Chamber, ตู้เลี้ยงอ่อนคุณภาพสูง, แช่แข็งด้วยวิธี Vitrification, Mac Sperm ฯลฯ
• ตรวจความผิดปกติของโครโมโซมหรือยีนส์ ด้วยวิธี NGS (PGT-A, PGT-M)
• ราคาเหมาะสม
• บริการอย่างมืออาชีพ
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลปิยะเวท
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ตั้งอยู่ที่ชั้น 12 โรงพยาบาลปิยะเวท ให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง รวมทั้งปัญหา ความผิด ปกติทางพันธุกรรม การแท้งซ้ำซาก และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีครอบครัว ที่สมบูรณ์ดังใจปรารถนา
การทำเด็กหลอดแก้ว
คือการรักษาผู้ป่วยที่มีบุตรยากอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการ นำอสุจิและไข่มาผสมกันจนเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ แล้วจึงทำการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การทำเด็กหลอด แก้วเป็นการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการ แพทย์จึงมีอัตราความสำเร็จที่ค่อนข้างสูง
ระยะเวลาในการทำเด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้วนั้นจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เมื่อทำการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกแล้ว คุณหมอจะนัดคนไข้เข้ามาตรวจการตั้งครรภ์ใน10-12วัน จึงถือว่าเป็นการสิ้นสุดกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สูงขึ้น จึงมีอัตราความสำเร็จที่สูงขึ้น ทำให้คู่สมรสที่ ประสบปัญหาการมีบุตร ยากนั้นมีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้น
ผู้รับบริการที่เหมาะสมในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
• คู่สมรสที่มีปัญหาท่อน้ำไข่ตัน
• คู่สมรสที่ประสบปัญหาการมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
• คู่สมรสที่เคยทำ IUI >3-6 ครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
• คู่สมรสที่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ และปริมาณอสุจิ
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ทางศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ รพ.ปิยะเวท จึงมีทีมแพทย์และพยาบาลที่มากด้วยประสบการณ์และความสามารถ คอยดูแลและบริการอย่างใกล้ชิด และเราจะไม่หยุดที่จะพัฒนาการบริการ รวมถึง เทคโนโลยีในการรักษา การตรวจโครโมโซม การตรวจยีนส์ให้พัฒนาระดับที่สูง ขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดมีปัญหาโครโมโซมหรือยีนส์ในภายหลัง
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ให้บริการดังต่อไปนี้
• บริการให้คำปรึกษาภาวะมีบุตรยากโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
• การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุ์กรรม
• ตรวจหาสาเหตุภาวะการมีบุตรยากตามสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย
• ให้การรักษาตามสาเหตุของผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยาก
• ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจ sperm เก็บไข่ และแช่แข็งตัวอ่อน
การเตรียมตัวก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว
- สามี • ก่อนทำเด็กหลอดแก้ว 3 เดือน ควรงดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีผลกระทบต่อคุณภาพของตัวอสุจิ • ควรหลั่งน้ำเชื้อออกก่อนวันเก็บไข่ 3-5 วัน และ พักผ่อนให้เพียงพอ • หลีกเลี่ยงการอบซาวน่า แช่น้ำอุ่น • ออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที
- ภรรยา • ควบคุมน้ำหนัก ประเมินค่า BMI ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม • ควรงดเพศสัมพันธ์ในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว • พักผ่อนให้เพียงพอ • งดสูบบุหรี่ ก่อนทำ 3 เดือน และในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว • ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร / วัน และควรกินโปรตีนให้ได้ อย่างน้อย 60 กรัม เช่น เนื้อแดง น้ำเต้าหู้ เนื้อปลา และไข่ขาว
7 ขั้นตอนหลักของการทำเด็กหลอดแก้ว
ขั้นตอนที่ 1ปรึกษาหาสาเหตุของการมีบุตรยาก
ขั้นตอนที่ 2การกระตุ้นไข่ แพทย์สั่งยากระตุ้นไข่ ฉีดเข้าหน้าท้อง ประมาณ 8-12 วัน และมีการตรวจ ติดตามการเจริญเติบโตของไข่หลังใช้ยา โดย Ultrasound
ขั้นตอนที่ 3การเก็บไข่และเก็บสเปิร์ม ก่อนการเก็บไข่ 36-40 ชั่วโมง ผู้ป่วย ต้องฉีดยาให้ไข่ตก และในวันเก็บไข่ สามีต้องเข้ามาเก็บสเปิร์มพร้อม กัน
ขั้นตอนที่ 4การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน หลังจากผสมอสุจิเข้ากับไข่แล้ว ต้องทำการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องแลป 5-6 วัน จนถึงระยะ Blastocyst
ขั้นตอนที่ 5ทานยาปรับสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนมีการฝังตัวที่ดี (กรณีต้องการย้ายตัวอ่อนในรอบสด)
ขั้นตอนที่ 6ทำการย้ายตัวอ่อนเข้า สู่โพรงมดลูก
ขั้นตอนที่ 7การดูแลตัวเอง หลังจากย้ายตัวอ่อน หลังจากย้ายตัวอ่อนแล้ว ผู้ป่วยยังต้องทานยาฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง เพื่อให้ตัว อ่อนเกิดการฝังตัว หลังจากย้าย ตัวอ่อนประมาณ 10 วัน แพทย์จะนัดให้คนไข้เข้ามาเจาะเลือด ตรวจการตั้งครรภ์ (Beta-HCG)
ข้อควรระวังหลังการย้ายตัวอ่อน
• ไม่ควรทำงานหนัก หลังจากย้ายตัวอ่อน 2-3 วัน
• ควรปรับท่านั่งและนอนให้เหมาะสม สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องนอนพักตลอดเวลา
• งดออกกำลังกาย และไม่เดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
• งดการมีเพศสัมพันธ์
• ใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง
เทคโนโลยีการทำ IVF ระดับสากล
ทางศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ได้มีเทคโนโลยีมาตรฐานสากลที่ช่วยในการรักษา ผู้มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น
• ICSI คือ In Vitro Fertilization : IVF
• Intracytoplasmic Sperm Injection ICSI :เทคโนโลยีการผสมเทียม ที่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพและปริมาณสเปิร์มผิดปกติของฝ่ายชาย
• Preimplantation Genetic Testing for Monogenetic Disorder : เทคโนโลยี PGT-M คือการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาตัวอ่อนความผิดปกติเฉพาะโรค
• Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy เทคโนโลยี PGT-A คือการตรวจสอบโครโมโซม 23 คู่ของตัวอ่อน สามารถตรวจสอบโรคดาวน์ซินโดรม และ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดได้
• Next Generation Sequencing : เทคโนโลยีขั้นสูงของการตรวจสอบโครโมโซมของตัวอ่อน เพื่อป้องกันทารกแรกเกิดมีโรคทางพันธุกรรมหรือ เป็นพาหะโรคทางพันธุกรรม
• Blastocyst Culture :การเลี้ยงตัวอ่อนก่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก (หลังจากทำการปฏิสนธิแล้ว จะเลี้ยงตัวอ่อน 5 วัน) การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนนี้ (Blastocyst) จะช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวดีขึ้น และเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ให้สูงยิ่งขึ้น
• Frozen Embryos Transfer : การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง จะมีการนำตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งไว้มาผ่านกระบวนการการละลายตัวอ่อน (Thawing) ก่อนย้ายเข้าสู่มดลูกของมารดา เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จให้สูงขึ้น
• Vitamin Increase Egg Quality :วิตามินที่ช่วยบำรุงให้คุณภาพไข่สูงขึ้น บำรุงให้ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จให้สูงยิ่งขึ้น
- ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Laboratory Room)
ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของ รพ. ปิยะเวทได้รับมาตรฐานคุณภาพระดับสากล ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อน
มี การแบ่งแยกพื้นที่ปฏิบัติการอย่างเหมาะสม โดยมีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีขั้นสูง ห้องเพาะเลี้ยงมี การควบคุมอุณหภูมิในการแช่แข็งไข่และสเปิร์มอย่างเหมาะสม อุณหภูมิและแสง หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ปลอดจากเชื้อแบคทีเรีย ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนปลอดสารเคมี ห้องคัดแยกโรคทางพันธุกรรม ห้องเพาะเลี้ยงไข่และสเปิร์ม เป็นห้องฏิบัติการที่มีนักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางเป็น ผู้ดูแล เพื่อช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ห้องทำหัตถการเก็บไข่และย้ายตัวอ่อน (Operating Room)