บริการทางการแพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

G Floor, open everyday
7:00-19:00 Tel. 02-129-5555

ข้อมูลทั่วไปศูนย์อายุรกรรม

ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคอายุรกรรม ตั้งแต่ภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันจนถึงเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ด้วยการใช้ยาและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการตรวจวินิจฉัย รวมถึงการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ และหากวินิจฉัยเบื้องต้นแล้วมีความจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการรักษาเฉพาะทางของโรคนั้นๆ ทางศูนย์อายุรกรรมได้จัดเตรียมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและครบวงจร โดยมีคลินิกให้บริการ ดังนี้

  1. คลินิกอายุรศาสตร์ทั่วไป
  2. คลินิกอายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. คลินิกอายุรกรรมโรคระบบประสาท
  4. คลินิกอายุรกรรมโลหิตวิทยา
  5. คลินิกอายุรกรรมโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
  6. คลินิกอายุรกรรมโรคมะเร็งและเคมีบำบัด
  7. คลินิกอายุรกรรมโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต
  8. คลินิกอายุรกรรมโรคไต
  9. คลินิกอายุรกรรมโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
  10. คลินิกอายุรกรรมจิตเวช
  11. คลินิกอายุรกรรมโรคติดเชื้อ
  12. คลินิกอายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม
  13. คลินิกอายุรกรรมโรคต่อมไร้ท่อและเบาหวาน
  14. คลินิกเวชศาสตร์การนอนหลับ
  • ปวดศรีษะ (Headaches)
  • เวียนศรีษะบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ (Vertigo)
  • โรคของเส้นประสาท เช่น ชามือ ชาเท้า (Neuropathy)
  • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรือตัน (Stroke) STROKE  Fast Tract
  • ภาวะการนอนผิดปกติ (Sleep Disorders)  
  • โรคสมองเสื่อม (Dementia)
  • โรคลมชักหรืออาการวูบ (Epilepsy /seizure)  
  • อาการปวดที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท เช่น ปวดคล้ายไฟฟ้าช็อต/เข็มแทง ปวดแสบปวดร้อน (Neuropathic pain)
  • โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ และพาร์กินสัน (Movement Disorder & Parkinson’s Disease)
  • โรคของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Neuromuscular Diseases)
  • ศัลยกรรมสมอง (Brain Surgery)
  • เนื้องอกในสมอง (Brain Tumors)
  • การผ่าตัดสมองแผลเล็ก (Minimal Invasive Neurosurgery)
  • อุบัติเหตุที่ศรีษะ (Head Injury)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ Vascular Neurosurgery : เส้นเลือดโป่งพองในสมอง (Cerebral aneurysm), เส้นเลือดขอดในสมอง (Arteriovenous malformation : AVM)
  • Functional Neurosurgery : การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมอง (Deep brain stimulation : DBS) , Epilepsy surgery
  • Pediatric Neurosurgery
  • Peripheral Nerve Surgery
  • Stereotactic Radiosurgery, Stereotactic Radiotherapy, Gamma Knife , Novalis 
  • การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (Computerized Tomography : CT Scan)
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance : MRI, MRA)
  • การตรวจหลอดเลือดที่คอ (Carotid Duplex Ultrasounds)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง (Electroencephalography: EEG)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (Electromyography : EMG)
  • การตรวจการนำกระแสประสาท (Nerve Conduction Study : NCS)
  • การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ (Polysomnography/ Sleep Test)
  • การตรวจหลอดเลือดในกะโหลกศีรษะ (Transcranial Doppler Ultrasounds : TCD) 
  • การฉีดสีเข้าเส้นเลือดสมอง (Cerebral Angiography)
  • รักษาโรคโลหิตจาง เช่น โรคโลหิตจางพันธุกรรม ธาลัสซีเมีย (Thalassemia disease) ,โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iran deficiency anemia) ,โรคโลหิตจางจาการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolytic anemia) เช่น จากภูมิต้านทาน (Autoimmune Hemolytic anemia) ,จากการขาดเอนไซม์ G6PD (G6PD deficiency Anemia) ฯลฯ และ โรคโลหิตจางจากโรคเรื้องรัง (Anemia of Chronic disease)
  • รักษาโรคไขกระดูก/โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia) ,โรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic syndrome) ,โรคไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดสูงผิดปกติ (Myeloproliferative Neoplasm) เช่น สร้างเม็ดเลือดแดงสูงผิดปกติ (Polycythemia Vera), สร้างเกร็ดเลือดสูงผิดปกติ (Essential Thrombocythemia) และโรคพังผืดในไขกระดูก (Primary Myelofibrosis)
  • โรคเม็ดเลือดสูงจากภาวะอื่นๆ เช่น เม็ดเลือดแดงสูงผิดปกติ (Secondary polycythemia), เม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิวส์สูงผิดปกติ (Secondary eosinophilia), เกล็ดเลือดสูงผิดปกติ (Secondary thrombocytosis) และ เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ (Reactive leukocytosis)
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดเฉียบพลัน (Acute Lymphoblastic Leukemia, Acute Myeloblastic Leukemia)
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดเรื้อรัง (Chronic Myelocytic Leukemia, Chronic Lymphocytic Leukemia)
  • โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา (Multiple Myeloma)
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)   
  • โรคเลือดไหลไม่หยุด  เช่น ฮีโมฟิเลียเอ, บี (Hemophilia A, B ฯลฯ)
  1. การดูแลรักษาโรคมะเร็ง
    – การให้คำปรึกษาเพื่อเฝ้าระวัง(Prevention)
    – ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง(Screening)
    – การวินิจฉัยโรค(Diagnosis)
    – ให้คำปรึกษาการฉายรังสี(Radiotherapy)
    – การดูแลแบบประคับประคอง(Palliative Care )
  2. การดูแลรักษาโดยให้เคมีบำบัด(Chemo therapy)
    – การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)
    – การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดImmunotherapy
    – ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยต่อเรื่องการดูแล
    – การปรับยาและหัตถการบรรเทาปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  3. การบริการอื่น
    – การดูแลแผลเปิดของลำไส้ใต้บริเวณหน้าท้อง
    – การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ
    – การให้ความช่วยเหลือด้านสภาวะจิตใจ
    – การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับสมดุลของกรดด่าง และเกลือแร่ในร่างกาย
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • โรคไตเรื้อรัง โรคไตที่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำที่ไต กลุ่มอาการอัลปอร์ต ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ฯลฯ
  • การชะลอการเสื่อมของไต ด้วยการควบคุมสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคนิ่วที่ไต การสูบบุหรี่ และการควบคุมระดับโปรตีนที่รั่วออกมากับปัสสาวะ
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดจาง ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ
  • การบำบัดทดแทนไต
  • บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลันและผู้ป่วยวิกฤติ
  • บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (Plasmapheresis)
  • บริการฟอกเลือดในผู้ป่วยที่มีสารพิษคั่งในกระแสเลือด
  • บริการผ่าตัดเส้นเลือดพิเศษสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • บริการแก้ไขปัญหาของเส้นเลือดพิเศษสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • บริการข้อมูลในการดูแลตนเองในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
  • บริการข้อมูลในด้านการปฏิบัติตัวทางด้านอาหารและยาในผู้ป่วยโรคไต
  • บริการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของไต
  • บริการปรึกษาและรักษาภาวะไตวายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคไต
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
  • การตรวจทางรังสีวิทยา : การอัลตราซาวนด์ไต (Renal Ultrasound) การตรวจไตโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Kidney Dopplers) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Angiography) การตรวจทางนิวเคลียร์ (Renal scan)
          • เพื่อตรวจสอบการอุดตันในทางเดินปัสสาวะ (เช่น นิ่วในไต)
          • เพื่อประเมินขนาดของไต
          • เพื่อตรวจสอบโรคถุงน้ำในไต
          • เพื่อตรวจหาอาการอื่นๆ อาทิ อาการหลอดเลือดแดงที่ไตตีบตัน
  • การตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของถุงน้ำดี ผ่านการส่องกล้อง (ERCP)เช่น มะเร็งท่อน้ำดี ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน เป็นต้น
  • การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้อง (GI Endoscopy)
  • การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy) เพื่อดูการเคลื่อนไหวและความผิดปกติ รวมถึงตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหาร
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อดูความผิดปกติของเยื่อบุลำไส้และผนังลำไส้ การบีบตัวของลำไส้จนถึงส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ หรือส่วนต่อของลำไส้กับลำไส้เล็ก
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy)
  • การตัดชิ้นเนื้อที่ยื่นผิดปกติในทางเดินอาหาร (Polypectomy)
  • การใส่สายให้อาหารผ่านกล้องส่องตรวจ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยา (PEG : Percutaneous Endoscopic Gastrostomy)
  • การรักษาภาวะเลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร
  • การตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการใช้แคปซูล(Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy) เป็นการตรวจวินิจฉัยแนวใหม่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก โดยการกลืนแคปซูลเพื่อบันทึกภาพส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหาร จากนั้นแพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้อง ตามสาเหตุของโรคต่อไป
  • การดูดและการเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ Liver Biopsy เพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ ในกรณีที่มีก้อนในตับหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งตับ รวมถึงการอักเสบของตับ
  • การใช้เทคนิคในการรักษา โดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น การห้ามสภาวะเลือดออกเฉียบพลัน จากทางเดินอาหารและตับ
  • การรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดโรคตับ ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี การผ่าตัดโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
  • โรคแพนิก เป็นโรคตื่นตระหนก เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตอิสระมีการทำงานที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้มีอาการแพนิก ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด จุกแน่น เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม หรือเหมือนกับจะถึงชีวิต มักจะเกิดขึ้นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีเรื่องกดดันหรือถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว
  • โรควิตกกังวล จะมีทั้งอาการทางกายและทางจิตแสดงออกร่วมกัน อาการทางกาย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก ปวดหัว มีอาการสั่น ฯลฯ ส่วนอาการทางจิต คือความรู้สึกหวาดกลัว กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ รู้สึกเครียด และมองหาสัญญาณอันตรายของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
  • โรคซึมเศร้า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว และไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง หากมีอาการของโรคซึมเศร้านานเกิน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
  • โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ป่วยมีลักษณะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่าง ช่วงซึมเศร้าและช่วงที่อารมณ์ดีเกินปกติ (ช่วงแมเนีย) โดยในช่วงซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง อาการช่วงนี้จะเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการจะคงอยู่ติดต่อกันนานหลายเดือนแล้วหายไปเหมือนคนปกติก่อนจะเข้าสู่ช่วงอาการแมเนีย ซึ่งจะมีอารมณ์คึกคัก มีพลัง อยากทำหลายอย่าง กระฉับกระเฉง นอนน้อย ใจดี มนุษย์สัมพันธ์ดี อารมณ์ดี แต่มีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ของตนเอง เมื่อมีคนขัดใจผู้ป่วยจะฉุนเฉียวมาก หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้เลย
  • โรคเครียด เป็นภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการเครียดประมาณหนึ่งเดือน หากเกิดอาการนานกว่านั้นจะกลายเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ (Posttraumatic Stress Disorder: PTSD)
  • โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบได้ในโรคทางกายหลายชนิด โรคทางจิตเวชหลายโรค หรืออาจมีสาเหตุจากยาบางชนิด จากสารบางอย่างที่ออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง เช่น สารคาเฟอีนที่มีอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนี้การดื่มสุราอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้เช่นเดียวกัน
  • โรคจิตเภท ผู้ป่วยจะมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว มีภาพหลอนเกิดขึ้น และจะแสดงออกโดยการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว มีความหลงผิดหรือหวาดระแวง เป็นนานเกิน 6 เดือน หากเป็นแล้วไม่รักษาตั้งแต่ต้น หรือปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้การรักษามีความยุ่งยาก และผลการรักษาไม่ดีนัก โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่จะต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต ปัญหาของโรคนี้คือผู้ป่วยบางรายเมื่อพบว่าตนเองอาการดีขึ้น มักคิดว่าหายแล้วและหยุดใช้ยา ทำให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก
  • ติดยาเสพติด ผู้ป่วยที่ต้องการเลิกยาเสพติดและไม่สามารถเลิกด้วยตัวเองได้ สามารถมารับคำแนะจากแพทย์และวางแผนการใช้ยาในการรักษาเพื่อเลิกยาได้ เพราะการมีแพทย์คอยให้คำแนะนำจะทำให้แผนการเลิกยาเสพติดสำเร็จได้มากขึ้น
  • ปัญหาชีวิตคู่ หลายคนอาจจะคิดว่าการมาพบจิตแพทย์จะต้องมีเป็นโรคทางจิตเวชเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาชีวิตคู่ก็เป็นปัญหาสำคัญที่จิตแพทย์สามารถให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำในการปรับตัวของสามีภรรยาได้ การได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจะทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจอุปนิสัยและเรียนรู้กันได้มากขึ้น
  • ปัญหาสุขภาพทางเพศ ปัญหาสุขภาพทางเพศหลายปัญหา เกิดขึ้นในระดับจิตใต้ลำนึกของคนไข้ ต้องแก้ด้วยการรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เช่น อาการจิ๋มล็อก (Vaginismus) เป็นอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกรานผู้หญิงเกิดการหดเกร็งในขณะมีเพศสัมพันธ์ ทำให้สอดใส่ไม่ได้ หรือการที่สามีภรรยาไม่สามารถร่วมเพศกันได้ ภรรยารังเกียจการมีเพศสัมพันธ์กับสามี ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้หากได้เข้ารับการรักษาจะช่วยให้คนไข้มีความสุขในชีวิตคู่ได้มากขึ้น
  • ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลและให้คำปรึกษากับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เมื่อผู้ป่วยมีภาวะที่ยากลำบากต่อการปรับตัวต่อการรับรู้ในภาวะที่ตนเองเป็น และแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ เช่น ปัญหาระหว่างบุคคล ปัญหาส่วนตัว ปัญหาอาการเจ็บป่วยที่กำลังทรุดหนัก ซึ่งอาจจะกระทบจิตใจรุนแรงถึงขั้นเป็นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล มีอาการเพ้อ สับสน นอนไม่หลับ มีความคิดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้
  • โรคข้ออักเสบรูมาติสซั่ม (Rheumatoid arthritis)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง / โรคลูปัส (Systemic lupus erythematosus หรือ SLE)
  • โรคเกาต์ / โรคเกาต์เทียม (Gout / Pseudo gout)
  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
  • โรคหนังแข็ง (Scleroderma)
  • โรคเนื้อเยื่ออ่อน และรูมาติกเฉพาะที่ (Soft tissue Rheumatism) เช่น ถุงน้ำบริเวณข้ออักเสบ , เส้นเอ็นอักเสบ

ศูนย์โรคต่อมไร้ท่อและเบาหวาน เป็นศูนย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และต่อมไร้ท่อโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทีมวิทยากรเบาหวาน ทีมร่วมให้คำปรึกษา พยาบาลซึ่งได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทาง นักโภชนาการ พร้อมทีมแพทย์ร่วมรักษาจากทุกสาขา ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

  • อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ทันสมัย มีมาตรฐานระดับโลก การเชื่อมต่อข้อมูลทางการแพทย์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • ให้การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • ประเมินภาวะความเสี่ยงก่อนการเป็นเบาหวาน
  • แนะนำวิธีควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับคนปกติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
  • ให้ความรู้และดูแลคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • คลินิกลดน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ
  • ดูแลรักษาและป้องกันผู้ป่วยเบาหวานจากโรคแทรกซ้อน เช่น โรคทางระบบหลอดเลือด โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท การเกิดแผล เป็นต้น
  • ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ให้ความรู้กับครอบครัว ญาติในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างถูกต้อง
  • ให้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานประจำปี
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาล:
  • การฟื้นฟูและติดตามผลการรักษา : ให้การติดตามผลดูแลผู้ป่วยเบาหวานในระยะยาว โดยทีมแพทย์ร่วมรักษาเฉพาะทาง อาทิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคตา โรคระบบหลอดเลือด โรคติดเชื้อ โรคไต แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักโภชนาการ มีกิจกรรมสันทนาการสำหรับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และญาติให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นการตรวจเพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ผลการตรวจช่วยการวินิจฉัยโรคและประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาวางแผนหรือติดตามการรักษาให้ถูกต้องได้

  • ภาวะนอนกรน,หยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea) 
  • ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia) 
  • ภาวะนาฬิกาชีวิตแปรปรวน (Circadian Rhythm Sleep-Wake disorders)
  • ภาวะนอนละเมอ(Parasomnia)
  • ภาวะนอนกัดฟัน (Sleep related bruxism)
  • ภาวะการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ
  • ภาวะนอนขากระตุก (Periodic leg movements during sleep)
  • ภาวะขาอยู่ไม่สุขขณะหลับ (Restless legs syndrome)
  • ภาวะง่วงนอนมากในช่วงกลางวัน (Excessive daytime sleepiness) 
  • ภาวะลมหลับ (Narcolepsy)

การวินิจฉัยและเครื่องมือ

  1. ให้การวินิจฉัยภาวะโรคความผิดปกติที่เกิดจากการนอนหลับโดยอาศัยเครื่องตรวจการนอนหลับ (polysomnogram/sleep lab) และ Multiple Sleep Latency Test (MSLT) ซึ่งใช้วิเคราะห์โรคลมหลับ โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์
  2. 2.ให้การประเมินโรคความผิดปกติทางการนอนหลับโดยอาศัยแบบสอบถามเป็นตัวคัดกรอง  เช่น STOB BANG (คัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น), Edward Sleepiness scale​/ ESS  (แบบประเมินความง่วงนอนกลางวัน), แบบสอบถามที่เกี่ยวกับภาวะนอนไม่หลับ, ตารางบันทึกเวลานอน (sleep diary)  เป็นต้น
  3. ให้บริการคำปรึกษาและคำแนะนำการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก(CPAP) เพื่อใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. อาบน้ำสระผมให้สะอาดก่อนมาเข้ารับการตรวจ และไม่ใช้น้ำมันสเปรย์ใส่ผม
  2. งดการหลับในเวลากลางวัน ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เคยทำประจำ
  3. ก่อนการตรวจชั่วโมง ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้น้อยลง และรับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจ 24 ชั่วโมง
  5. งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มกระตุ้นประสาทก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
  6. ถ้ามียาที่ต้องทานเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจำเป็นต้องงดหรือไม่
  7. ผู้ชายควรโกนหนวดให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ ผู้หญิงควรงดแต่งหน้าและทาเล็บ
  8. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สำหรับล้างหน้าตอนเช้า ไม่ควรนำเครื่องประดับหรือของมีค่าติดตัวมาด้วย

รายละเอียดการตรวจ

  1. เป็นการตรวจที่ผู้ป่วยต้องมาพักค้างคืนที่โรงพยาบาลในช่วงเวลากลางคืน
  2. มีการติดอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างการตรวจ
  3. ในระหว่างการตรวจจะมีการบันทึกวีดีโอ เพื่อสังเกตท่าทางการนอน และความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นขณะหลับ
  4. ในห้องควบคุมจะมีคอมพิวเตอร์รับสัญญาณที่ส่งมาจากผู้ป่วย เช่น คลื่นสมอง การหายใจ ค่าออกซิเจนในเลือด เป็นต้น รวมถึงภาพวีดีโอซึ่งเจ้าหน้าที่จะค่อยควบคุมการบันทึกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้แพทย์เพื่อใช้ในการแปลผล
  5. การทดสอบนี้เป็นเพียงการรับสัญญาณตามธรรมชาติในร่างกายของมนุษย์ เช่น  คลื่นสมอง การหายใจเข้าออก การกลอกตาขณะหลับ การเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้อง เสียงกรน ท่านอน แรงดึงตัวของกล้ามเนื้อ คลื่นไฟฟ้าหัวใจและระดับออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
  6. การติดอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้า จะเป็นเพียงแค่การใช้สายโลหะสัมผัสและยึดติดกับบริเวณผิวหนังในบริเวณต่างๆของร่างกายด้วยพลาสเตอร์จะไม่มีการเจาะหรือฝังอุปกรณ์ใดๆเข้าร่างกาย และจะไม่มีการส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นใดๆเข้าร่างกาย
  7. ในผู้ป่วยบางรายที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจส่วนต้นยุบตัวรุนแรง เจ้าหน้าที่จะเข้าไปปลุกเพื่อสวมหน้ากากที่ต่อกับอุปกรณ์สร้างแรงดันบวก CPAP (ซีแผบ) เพื่อหาแรงดันที่เหมาะสม

คุณหมอให้ความรู้ :

Scroll to Top