ภาวะกระดูกพรุน ภัยร้ายที่ควรป้องกัน

โรคกระดูกพรุน คืออะไร?

     โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่มวลกระดูกลดลง ทำให้ความแข็งแรงของโครงสร้างกระดูกต่ำ เปราะ หักง่าย จากสถิติของกรมการแพทย์ ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุนและเกิดการหักของกระดูก 30000 คนต่อปี ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ ข้อมือ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง ที่น่ากลัวคือกลุ่มผู้ป่วยสะโพกหัก เนื่องจากมีผลแทรกซ้อนตามมามาก โดยสถิติ มีโอกาสเสียชีวิตใน 1 ปีถึง 20% , 40% ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง
     เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนมักจะ “ไม่แสดงอาการ” รู้ตัวอีกที ก็มีกระดูกหักแล้ว ดังนั้นผมขอแนะนำให้ตรวจมวลกระดูก เพื่อดูว่ามวลกระดูกอยู่ในขั้นไหน เพื่อได้รับการแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ข้อบ่งชี้ในการตรวจมวลกระดูก มีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

     1 .ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
     2 .หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี รวมถึงเคยผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
     3 .ผู้หญิงหมดประจำเดือนที่มีอายุ น้อยกว่า 65 หรือผู้ชายอายุน้อยกว่า 70 ปี ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • เคยกินยากลุ่ม steroid มากกว่า 5 mg/วัน หรือกำลังกินยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน 3 เดือนขึ้นไป
  • มีประวัติบิดามารดาสะโพกหัก
  • เคยมีกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
  • ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20
  • ส่วนสูงลดลง 4 ซม เมื่อเทียบกับความสูงที่สุด หรือลดลง 2 ซมในการวัดห่างกัน 2 ครั้ง
  • ได้รับยารักษาเกี่ยวกับฮอร์โมนบางอย่าง

แล้วเมื่อไหร่ เรียกว่า เป็นโรคกระดูกพรุน?

 

เกณฑ์การวินิจฉัย มีข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
     1 .กระดูกสันหลังหักหรือกระดูกสะโพกหัก อันเนื่องจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
     2 .ค่า T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 ที่ตำแหน่ง lumbar spine, total hip, femoral neck หรือ ⅓ radius
     3. ค่า T-score ระหว่าง -1.0 และ -2.5 ร่วมกับความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักในช่วงเวลา 10 ปี ประเมินจาก FRAX score thai มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 3
     4. ค่า T-score ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5 ร่วมกับมีกระดูกหักในตำแหน่ง กระดูกต้นแขน กระดูกเชิงกราน หรือ กระดูกข้อมือ จากอุบัติเหตุไม่รุนแรง

วิธีการรักษา

  1. การรักษาแบบไม่ใช้ยา
    1.1. แนะนำรับประทานอาหารให้ได้แคลเซียมอย่างน้อย 1000 mg/วัน แต่ไม่ควรเกิน 1500 mg/วัน (จากอาหารและแคลเซียมเสริม)
    1.2. แนะนำระดับวิตามินดี ให้อยู่ในเกณฑ์ 30-50 นก./มล.
    1.3. แนะนำออกกำลังกายสม่ำเสมอเหมาะสมตามวัย หยุดสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ และตรวจประเมินความเสี่ยงในการล้ม
  2. รักษาโดยการใช้ยาโรคกระดูกพรุน (ในกรณีวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูฏพรุน)
    2.1 ยากลุ่ม Bisphosphonate
    2.1 ยากลุ่ม Denosumab
    2.1 ยาทางเลือก เช่น กลุ่มฮอร์โมน estrogen (ในกรณีอายุน้อยและประจำเดือนหมดก่อนวัย)
    2.1 Teriparatide ในกณ๊มีความเสี่ยงกระดูกหักมาก หรือในกรณีไม่ตอบสนองต่อยา Bisphosphonate
Scroll to Top