ความรู้เรื่องการทําหมันสตรี (Female Sterilization)
การทําหมันสตรี เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ให้อสุจิปฏิสนธิกับไข่ในท่อนําไข่ ด้วยการผูก ตัด รัด หรือ ทําลายส่วนใดส่วนหนึ่ง ของท่อนําไข่ เป็นการคุมกําเนิดแบบถาวรไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ เพราะไม่ทําให้ฮอร์โมนของร่างกายเปลี่ยนแปลงระดูจะมาตามปกติไม่ทําให้สภาพจิตใจหรือความรู้สึกทางเพศเปลี่ยนไปไม่ทําให้สมรรถภาพของร่างกายลดลงยังสามารถทํางานได้ตามปกติ
การทําหมันสตรี แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. การทําหมันหลังคลอด (Postpartum Tubal Sterilization) เป็นการทําพร้อมกับการผ่าท้องทําคลอดหรือจะทําภายหลังการทําคลอดบุตร ทางช่องคลอดภายใน 72 ชั่วโมง เมื่อแน่ใจว่า มารดาปลอดภัยและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆจากการคลอดในช่วงเวลานี้ยอดมดลูกอยู่สูงประมาณระดับสะดือ จึงทําให้ง่ายต่อการทําหมันเมื่อทําการ ผ่าตัดให้เป็นแผลขนาดเล็กที่บริเวณใกล้สะดือ
2. การทําหมันแห้ง (Interval Tubal Sterilization) คือ การทําหมันในเวลาอื่นๆที่ไม่ใช่ระยะหลังคลอดบุตรซึ่งอาจจะทําโดยทําการผ่าตัด เป็นแผลขนาดเล็กบริเวณเหนือหัวหน่าวหรือใช้กล้องส่องช่องท้องผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณใกล้สะดือมักจะทําในช่วงหลังมีระดูแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ในขณะที่ทํา
ผู้ที่ควรรับการคุมกําเนิดโดยการทําหมันสตรี
- มีบุตรเพียงพอแล้วหรือไม่ต้องการมีบุตรและต้องการคุมกําเนิดแบบถาวร
- มีโรคประจําตัวซึ่งการตั้งครรภ์จะทําให้การดําเนินโรคเลวลงหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อสตรีนั้น
- มีความบกพร่องทางจิตหรือสติปัญญาโดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองตามกฎหมายหรือผู้อนุบาล
ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจทําหมันสตรี
- ยังไม่แน่ใจว่าต้องการมีบุตรเพิ่มอีกหรือไม่หรือมีแนวโน้มจะกลับมาขอแก้หมัน เช่น สตรีอายุน้อยชีวิตสมรสไม่มั่นคงหรือเลี้ยงดูบุตรโดยลําพัง ในกรณีนี้ควรพิจารณาทางเลือกอื่นๆของการคุมกําเนิดไปก่อน เช่น ยาเม็ดคุมกําเนิด ยาฉีด ยาฝัง ห่วงอนามัย เพราะการผ่าตัดแก้หมัน เป็นการผ่าตัดที่ทําได้ยากมีค่าใช้จ่ายสูงและอาจจะไม่ประสบความสําเร็จ
- ผู้มีโรคประจําตัวซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดควรได้รับการรักษาหรือควบคุมโรคให้อยู่ในสภาวะที่ปลอดภัยก่อน
- กรณีทําหมันแห้งผ่านกล้องส่องช่องท้องจะมีข้อควรระวังเพิ่มเติม เนื่องจากต้องใช้วิธีการให้ยาสลบเพื่อระงับความรู้สึกใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเพิ่มความดันในช่องท้องและนอนศีรษะต่ำจึงไม่เหมาะสมในสตรีที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจหรือเคยได้รับการผ่าตัดในช่องท้องมาก่อนหรือมีโรคที่ก่อให้เกิดพังผืดอย่างมากในช่องท้อง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทําหมันสตรี
- ไม่ทําให้ความรู้สึกทางเพศเปลี่ยนแปลง
- ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจ สามารถทํางานได้ตามปกติ
- ไม่ทําให้ระดับฮอร์โมนเพศผิดปกติ
- ไม่มีผลต่อระดู
- หลังผ่าตัดจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที
การเตรียมตัวก่อนการทําหมัน
สตรีที่จะรับการทําหมันจะอยู่ในท่านอนหงายการระงับความรู้สึกอาจทําได้โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน หรือการให้ยาสลบหลังจากทําความสะอาดหน้าท้องแพทย์จะทําการผ่าเป็น แผลขนาดเล็กในตําแหน่งที่เหมาะสมเมื่อเข้าไปในช่องท้องจะใช้อุปกรณ์จับท่อนําไข่ไล่ไปจนเห็นปลายเปิดของท่อนําไข่ที่มีลักษณะคล้ายปากแตรทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นท่อนําไข่จริงจากนั้นก็จะผูก และ/หรือ ตัดบางส่วนของท่อนําไข่ออก อาจจะใช้ไฟฟ้าทําลายท่อนําไข่บางส่วน ใช้อุปกรณ์หนีบหรือรัดท่อนําไข่ในบางกรณีที่จําเป็นแพทย์อาจจะส่งชิ้นเนื้อ ของท่อนําไข่ที่ตัดออกมาเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
ข้อจํากัดของการทําหมันสตรี
- การทําหมันอาจทําไม่ได้ในบางรายที่มีพังผืดมากหรือมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องยุติการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยของสตรี
- การทําหมันเป็นการคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ได้ผลร้อยละ 99.6 แต่ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ภายในปี แรกหลังทําหมันประมาณ 1-3 รายต่อการทําหมัน 1,000 ราย เนื่องจากท่อนําไข่มีการเชื่อมต่อกันใหม และการตั้งครรภ์ภายหลังการทําหมันอาจเป็นได้ทั้งการตั้งครรภ์ในมดลูกหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้นหากระดูไม่มาตามกําหนดควรรีบไปพบแพทย์เพราะหากเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะเกิด อันตรายได้
ภาวะแทรกซ้อนจากการทําหมัน
- เกิดการติดเชื้อเสียเลือดหรือบาดเจ็บต่ออวัยวะภายใน เช่น ลําไส้ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจจําเป็นต้องรักษา เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนนั้น พบได้ไม่เกิน 1 ใน 100 ราย
- การบาดเจ็บต่อเส้นเลือดใหญ่ซึ่งอาจจําเป็นต้อง ให้เลือดหรือผ่าตัดแก้ไขพบได้ 1 ใน 10,000 ราย
- เสียชีวิตจากการผ่าตัดทําหมันพบได้ประมาณ 1-2 ใน 900,000 ราย
การดูแลตนเองหลังการทําหมัน
- โดยทั่วไปจะปิดแผลไว้ไม่ให้ถูกน้ำเป็นเวลาประมาณ 7 วัน หากเย็บแผลด้วยไหมละลายหลังเปิดแผลแล้วถ้าแผลติดเรียบร้อยดี สามารถถูกน้ำได้หากเย็บด้วยไหมธรรมดา ให้ตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน แล้วจึงถูกน้ำได้
- หลังผ่าตัดทําหมันโดยทั่วไปมักมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยสามารถระงับด้วยยาแก้ปวดธรรมดา เช่น พาราเซตามอล