ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)

     ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ หลังจากมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้คุมกำเนิดมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี โดยปกติคู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิด จะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 12 เดือน

     ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย (Male infertility) คือ การที่ผู้ชายไม่สามารถทำให้คู่ครองตั้งครรภ์ได้ โดยมีปัจจัยจากฝ่ายชายเป็นต้นเหตุ

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย (Spermatogenesis)

  1. สมองส่วน hypothalamus สร้างฮอร์โมน GnRH ไปกระตุ้น anterior pituitary gland ให้สร้าง Gonadotropin
    • LH กระตุ้น Leydig cells ในการสร้างฮอร์โมน testosterone
    • FSH กระตุ้น Sertoli cells ในการสร้างเชลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย

  2. ระยะเวลาในการสร้างเชลล์สืบพันธุ์ของเพศชายประมาณ 70 วัน หลังจากนั้นใช้เวลาอีกประมาณ 12-21 วันใน

    การขนส่งจาก epididymis จuถึง ejaculatory duct

สาเหตุของภาวะมีบัตรยากในเพศชาย

สามารถแบ่งออกเป็น 4 สาเหตุตามตำแหน่งได้ดังนี้

  1. Pre-testicular: Hypothalamic pituitary disease
    • โรคในกลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติที่ hypothalamus หรือ ต่อม pituitary ทำให้ไม่สามารถสร้าง GnRH หรือ gonadotropinได้ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในเพศชายตามมา
  2. Testicular เป็นความบกพร่องตั้งแต่แรกเกิด (congenital) หรือได้รับมาภายหลัง (acquired)
    • Klinefelter’s syndrome เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในโรคกลุ่มนี้ ทำให้เกิด testicular failure พบในเพศชายประมาณ 1 ใน 1,000 คน สาเหตุเกิดจาก X chromosome เกินมาที่พบบ่อยสุดคือ 47.XXY
    • ภาวะทองแดง (cryptorchidism) คือการที่อัณฑะไม่เคลื่อนลงมาในถุงอัณฑะตามปกติตั้งแต่แรกเกิดสามารถเกิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
    • เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ (varicoceles) ก้อนที่เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดดำ
    • การติดเชื้อส่งผลให้อัณฑะอักเสบ (orchitis) โดยเฉพาะจากโรคคางทูม (mumps)
    • ยากลุ่มที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย และการทำงานของLeydig cell
    • สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก
    • โรคเรื้อรัง เช่น โรคไตเรื้อรัง ภาวะขาดสารอาหาร โรคตับแข็ง
  3. Post-testicular: ความบกพร่องของกรขนส่งเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย เช่น ปัญหาบริเวณ vas deferens สาเหตุเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การทำหมันชาย หรือ อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว เป็นต้น
  4. กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุซัดเจน

 

การวินิจฉัย

  • การซักประวัติ
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ
  • การตรวจทางพันธุกรรม
  • การตรวจระดับฮอร์โมน

การรักษา

รักษาตามสาเหตุที่เป็น ยกตัวอย่างเช่น

  • การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนทดแทน
  • การต่อหมันชาย
  • การทำหัตถการในการเก็บอสุจิ
  • การใช้อสุจิบริจาค

 

Scroll to Top