เชื้อ HPV และความสำคัญของการตรวจหามะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV และความสำคัญของการตรวจหามะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV และความสำคัญของการตรวจหามะเร็งปากมดลูก

HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นการตรวจหาการเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในเพศหญิง หลักการตรวจคล้ายคลึงกันกับการตรวจ Pap smear หรือ Pap test ซึ่งการตรวจคัดกรองกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นนั้น เป็นการตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ 16, 18, 31, 45 และ HPV อีกหลายสายพันธุ์เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หากได้รับการแก้ไขและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะลดโอกาสและความเสี่ยงของการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิงได้

เชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศนั้นติดได้อย่างไร

เชื้อ HPV ชนิดที่ติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศนั้น ส่วนใหญ่นั้นจะติดต่อผ่านการมีกิจกรรมทางเพศ การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรืออาการแสดง ดังนั้นจึงอาจไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น และนอกจากนั้นเชื้อชนิดนี้ยังสามารถส่งไวรัสไปยังคู่นอนได้อีกด้วย

อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ HPV ได้แก่

เชื้อไวรัส HPV จะอาศัยอยู่ในผิวหนังหรือเยื่อเมือก และมักจะไม่มีอาการหรืออาการแสดง อาจพบว่ามีหูดที่อวัยวะเพศที่มองเห็น หรือการเปลี่ยนแปลงก่อนมะเร็งในปากมดลูก, ช่องคลอด, ทวารหนักหรืออวัยวะเพศชาย การติดเชื้อ HPV นั้น มักไม่ค่อยมีผลในมะเร็งทวารหนักหรืออวัยวะเพศ

หูดที่อวัยวะเพศหญิงมักจะปรากฏเป็นบวมนุ่มชื้นสีชมพู หรือเนื้อสีมักจะอยู่ในบริเวณอวัยวะเพศ อาจพบว่ามีลักษณะเป็นตุ่มเรียบหรือนูน ซึ่งอาจมีหลายขนาดได้แก่เล็กหรือใหญ่ และบางครั้งมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ ในเพศชายนั้นพบว่ามีลักษณะคล้ายกันกับเพศหญิง ร่วมกับมีอาการปวดตึง ไม่สุขสบาย หรือคันบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วยได้

หูดที่ปรากฏทั่วไปมักพบที่บริเวณฝ่ามือและนิ้ว ลักษณะเป็นตุ่มนูน ขรุขระ บางรายอาจมีอาการปวด ไม่สุขสบาย หรือมีเลือดออกร่วมด้วยได้

สำหรับลักษณะอื่นๆที่สามารถพบได้ ที่บริเวณฝ่าเท้า ได้แก่ ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ขรุขระ หรืออาจพบตามร่างกายในเด็กได้ โดยมีลักษณะเป็นตุ่มเรียบเล็กๆ แล้วจึงค่อยๆมีรอย พบบ่อยมากสุดที่บริเวณใบหน้าและบริเวณที่มีหนวดเครา

หูดที่อวัยวะเพศจะได้รับการวินิจฉัยโดยการตรวจสอบด้วยตา หูดที่มองเห็นได้สามารถเอาออกได้โดยการใช้ยาในบริเวณที่ติดเชื้อ

บุคคลที่ควรได้รับวัคซีนและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก
  • แนะนำให้ฉีดได้ในเด็กอายุ 11-12 ปีขึ้นไป แต่วัคซีน HPV สามารถให้ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 9-26 ปี ตั้งแต่ช่วงอายุ 27-45 ปี หากไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อนการให้วัคซีน เพื่อให้ได้รับวัคซีนที่เหมาะสมที่สุด
  • หญิงที่คลอดบุตรหลายคน หรือแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย
  • มีประวัติเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • มีประวัติในครอบครัว เช่น ประวัติญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก    
  • ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ทั้งจากการใช้ยา หรือแม้กระทั่งปัญหาสุขภาพในอดีต
  • ผิวหนังถูกทำลายบริเวณที่มีติดเชื้อ เช่น มีแผล เป็นต้น
  • มีประวัติสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของเชื้อ HPV
  • ปัญหาต่อระบบการหายใจและช่องปาก เนื่องจากเชื้อ HPV บางชนิดสามารถก่อให้เกิดโรคบริเวณ ลิ้ม, ต่อม Tonsil, เพดานปาก หรือแม้กระทั่งในกล่องเสียงหรือจมูก
  • ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด
การป้องกันการติดเชื้อ HPV
  • รับวัคซีน HPV
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว หรือลดจำนวนคู่นอนลง
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์เมื่อพบว่ามีหูดตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นควรปฏิบัติตัว ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณหูดโดยไม่จำเป็น หรือเมื่อมีการสัมผัสให้รีบล้างมือทันที
  • หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณที่มีหูด
  • หากมีหูดปรากฏบริเวณฝ่าเท้า ให้สวมใส่ถุงเท้าและแยกอุปกรณ์ส่วนตัวออกจากที่สาธารณะทุกครั้ง
  • ให้รักษาและปฏิบัติจนกว่าหูดจะหายไป
  • แยกอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวออกจากผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
Vaccine HPV

สำหรับวัคซีน HPV ที่มีในปัจจุบันตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค ได้แก่ Gardasil, Cervarix และ Gardasil 9 แนะนำให้รับการฉีดได้ในเพศหญิง อายุ 9-45 ปี สำหรับบุคคลที่มีอายุ 26 ปี หากต้องการรับวัคซีน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อนทุกครั้ง และหากมีอายุระหว่าง 27-45 ปี ไม่แนะนำให้รับวัคซีน Gardasil 9

ข้อควรรู้ก่อนการฉีดวัคซีน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการฉีด HPV วัคซีน คือก่อนช่วงวัยที่พร้อมจะมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากวัคซีนจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกัน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่ติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ได้ หากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นก่อนที่จะได้รับการฉีดวัคซีน HPV วัคซีนที่ฉีดจะไม่สามารถป้องกันเชื้อได้ 

สำหรับการฉีดวัคซีน HPV หลังได้รับการฉีด สามารถตรวจ Pap smear test ได้ตามปกติ การฉีดวัคซีนไม่ได้เป็นข้อห้ามในการตรวจและยังแนะนำให้ทำการตรวจร่วมกับการทำ Pap smear หรือ Thin Prep Pap เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกที่มีความความไวเกือบ 100%  และเพิ่มความแม่นยำมากกว่าการเลือกตรวจ หรือการฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียว สำหรับความถี่ของการตรวจซ้ำนั้น อยู่กับอายุและประวัติทางการแพทย์เป็นองค์ประกอบ

หากจะฉีดวัคซีน HPV ในเด็ก  ผู้ปกครองควรอธิบายให้ทราบถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนว่า เป็นเพียงการป้องกันโรคติดเชื้อในเพศสัมพันธ์เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงการอนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

วัคซีนอาจมีผลข้างเคียงจากการได้รับ ซึ่งที่พบได้ทั่วไปได้แก่ อาการปวดศีรษะ มีไข้ และบวมแดงบริเวณที่ฉีด หากมีอาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป สามารถใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการลงได้ ได้แก่ยา Acetaminophen (Tylenol), Ibuprofen (Advil, Motrin) และควรอ่านฉลากการใช้ยาข้างกล่องทุกครั้ง และสำหรับอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด สามารถใช้ผ้าบางห่อน้ำแข็ง และใช้น้ำแข็งประคบเย็นไว้บริเวณนั้นประมาณ 10-20 นาที/ครั้ง ส่วนอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงและอันตรายที่พบได้บ่อยคืออาการหมดสติ ขณะฉีดหรือหลังฉีดหากมีอาการเวียนศีรษะ มึนงง กรุณารีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

Scroll to Top