โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ตัว

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ตัว

โรคกระดูกพรุนคือ ภาวะที่มวลกระดูกลดลง ทำให้ความแข็งแรงของโครงสร้างกระดูกต่ำ เปราะ หักง่าย ซึ่งในปัจจุบันคนทั่วโลกให้ความสำคัญ และยกเป็นนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว เนื่องการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลัง จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาและอันตรายถึงชีวิตได้ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง 

จากสถิติของกรมการแพทย์ ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุนและเกิดการหักของกระดูก 30000 คนต่อปี ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ ข้อมือ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และจากสถิติพบว่าอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุคนไทยจะสูงขึ้นปีละ 180 รายต่อแสนประชากรผู้สูงวัย เป็น 450-780 รายต่อแสนประชากรผู้สูงวัยในปี 2568 และที่น่าตกใจคือ
20% มีโอกาสเสียชีวิตใน 1 ปี
40% ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง
80% ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้
ในประเทศไทยคนยังไม่ค่อยให้ความสำคัญและรักษาเท่าไรนัก อาจจะเกิดจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ขาดการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประเทศไทยเองก็จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในไม่ช้านี้ คนจะอายุยืนขึ้น โรคกระดูกพรุนและความเสี่ยงจากการล้มก็มากขึ้นตามมา ฉะนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนในผู้ป่วยสูงอายุ 

การป้องกัน แบ่งเป็น 2 หลักใหญ่ๆ คือ

1. แสงสว่างในบ้านให้เพียงพอ
2. จับราวในจุดที่เสี่ยงล้ม
3. จัดของให้เป็นระเบียบลดการสะดุดล้ม
4. ตรวจเช็คโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการมองเห็น
5. การทรงตัว รวมถึงออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างการทรงตัวที่ดี เช่น รำไท้เก็ก ยืนขาเดียว

1. การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่น เดิน เดินเร็ว ร่วมกับการสัมผัสแสงแดดเพื่อเพิ่มวิตามินดี
2. การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต ผักใบเขียวเข้ม งาดำ ถ้าคิดว่ากินได้น้อยหรือไม่เพียงพอ ควรเสริมด้วยยาแคลเซียมผสมวิตามินดี
3. รักษาโดยยากระดูกพรุน เช่น ยาลดการสลายหรือเสริมสร้างกระดูก (โดยแพทย์)

ที่บอกว่าเป็น “ภัยเงียบใกล้ตัว” เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนมักจะ “ไม่แสดงอาการ” รู้ตัวอีกทีก็มีกระดูกหักแล้ว ดังนั้นผมขอแนะนำให้ตรวจมวลกระดูก เพื่อดูว่ามวลกระดูกอยู่ในขั้นไหน เพื่อได้รับการแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ในกรณีเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี รวมถึงเคยผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
  • เคยกินยากลุ่ม steroid หรือกำลังกินยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • มีประวัติบิดามารดาสะโพกหัก 
  • เคยล้มแล้วมีกระดูกหักมาก่อน 
โรคกระดูกพรุน
ผมขอสรุปอีกครั้งนะครับ ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายที่เหมาะสม จัดสภาวะแวดล้อมป้องกันการล้ม และควรตรวจหาภาวะกระดูกพรุน รักษาให้เหมาะสมตามข้อบ่งชี้ของแพทย์ 
บทความโดย : นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ สาขาความเชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ออร์โรปีดิกส์ ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลปิยะเวท โทร : 061-397-9281