โรคนิ้วล็อครักษาด้วยการสะกิด อีกทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องเปิดแผล

โรคนิ้วล็อครักษาด้วยการสะกิด อีกทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องเปิดแผล

     โรคนิ้วล็อค โรคที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญโดยไม่รู้ตัว เกิดจากพฤติกรรมที่ใช้นิ้วมือเป็นเวลานาน ๆ ไม่พัก เช่น คุยแชทบนสมาร์ทโฟน ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน หิ้วของหนัก ๆ เป็นประจำ หรือทำงานที่ต้องออกแรงกดที่นิ้วมือ นอกจากนี้ โรคนิ้วล็อคยังเกิดจากโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณมือด้วย เช่น โรคเบาหวาน หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยจะมีอาการในช่วงตอนเช้า หรือตอนที่ใช้งานนิ้วมือหนักต่อเนื่อง

เป็นโรคนิ้วล็อคเจ็บแบบไหนถึงบ่งบอก

     มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ ลามไปยังที่ข้อนิ้ว ทำให้เวลากำ หรือเหยียดได้ไม่สุด บางคนรุนแรงจนข้อนิ้วอาจงอผิดรูปได้ เพราะโรคนิ้วล็อคเกิดจากปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมืออักเสบและหนาขึ้น ทำให้เส้นเอ็นที่อยู่ภายใน ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ มักจะเกิดกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง และนิ้วนาง บางคนอาจเป็นพร้อมกันหลายนิ้ว หรือเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง

การรักษาโรคนิ้วล็อค ทำได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

     การรักษาโรคนิ้วล็อคขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง โดยระยะแรกสามารถรักษาได้ด้วยการทานยา ทำกายภาพบำบัด และฉีดยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะได้ผลดีในระยะ 4 – 6 เดือนแรก แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมใช้นิ้วมือแบบเดิม ๆ และต้องหมั่นพักนิ้วมือบ่อยๆ แต่ถ้ารักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด

ทางเลือกการรักษาโรคนิ้วล็อค โดยไม่ต้องผ่าตัด!

    1. แพทย์จะฉีดยาชาบริเวณมือ สอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการนิ้วล็อค
    2. ใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกัน เหมือนการผ่าตัดปกติ
    3. ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง ต่างจากการผ่าตัดแบบเดิมที่ต้องเปิดแผล ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง และห้ามแผลโดนน้ำนาน 10 – 14 วัน

Scroll to Top