ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม
ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม เป็นสาขาหนึ่งของการรักษาทางทันตกรรมที่มุ่งเน้นแก้ไขเพื่อสร้างความพึงพอใจในเรื่องของสีและขนาดของฟันให้ดีขึ้นมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้นอีกทั้งมีการใส่ฟันเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปให้มีความสวยงามและทำงานได้อย่างสมบูรณ์ด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับฟันหน้าซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเมื่อคนไข้ยิ้มหรือพูดอย่างไรก็ตามเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้และข้อ จำกัด การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนเพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จจึงเป็นสิ่งที่ทันตแพทย์และคนไข้จะต้องพิจารณาร่วมกันปรึกษาทันตแพทย์ของท่านถึงทางเลือกที่เหมาะกับคุณสิ่งที่คุณต้องการและคำบริการโดยทางเลือกของคุณประกอบด้วย
การบูรณะฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Tooth-colored restoration)
ฟันแตกหรือฟันหักหากฟันมีการแตกหักไปเพียงเล็กน้อยสามารถบูรณะในส่วนที่หายไปด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน และที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือวัสดุชนิดคอมโพสิทเรซิน (Composite Resin) หากการแตกหักเสียหายมากเหล่านี้ อาจเนื่องจากโครงสร้างฟันอ่อนแอต้องมีการรักษาด้วยการครอบฟันที่เสียหาย ซึ่งอาจมีรอยผุซึ่งต้องทำการอุดฟันหากรอยผุอยู่ด้านในสามารถใช้อมัลกัมอุดได้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้เห็นรอยอุดฟันอันเกิดจากอมัลกัมดังนั้นจึงได้มีการนำวัสดุสีเหมือนฟันมาใช้โดยเฉพาะตำแหน่งฟันหน้าเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยนำคอมโพสิทเรซิน (Composite Resin) มาเติมเต็มและฉายแสงเพื่อให้แข็งตัว
การฟอกสีฟัน (Tooth Bleaching / Tooth whitening)
การฟอกสีฟันเป็นวิธีแก้ไขฟันที่มีสีเข้มกว่าปกติให้มีสีขาวดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยการใช้น้ำยาฟอกสีฟันซึมเข้าไปสลายสารอินทรีย์ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดสีภายในเนื้อฟันการฟอกสีฟันไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อตัวฟันไม่ทำให้ฟันบางลงหรือฟันเปราะ แต่อาจมีผลข้างเคียงคือทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้ แต่โดยทั่วไปอาการเสียวฟันจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างที่ทำการรักษาหรือหลังการรักษาไม่นาน แล้วก็หายไปเอง ซึ่งสามาถทำขั้นตอนทั้งหมดได้ในคลินิกหรืออาจแยกบางขั้นตอนไปทำเองที่บ้านก็ได้
การฟอกสีฟันแบ่งตามกรรมวิธีได้ 2 ชนิด คือ
- In-Office หมายถึงทันตแพทย์ทำการฟอกสีฟันให้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลใช้ระยะเวลาประมาณ 30-60 นาที
- Home Bleaching หมายถึงทันตแพทย์มอบน้ำยาฟอกสีฟันให้ผู้รับการรักษานำไปทำเองที่บ้านโดยทันตแพทย์จะพิมพ์แบบฟันของผู้รับการรักษาเพื่อทำถาดสำหรับฟอกสีฟันเฉพาะบุคคลความเข้มข้นของน้ำยาที่ใช้ในการฟอกสีฟันที่บ้านจะเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในสถานพยาบาลโดยระดับความเข้มขันจะต่ำกว่าหรือเทียบเท่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
ขั้นตอนในการฟอกสีฟัน
- ตรวจสุขภาพฟันเพื่อให้แน่ใจว่าฟันของคนไข้เหมาะกับการฟอกสีฟัน
- ขูดหินปูนหรือขัดฟันเพื่อทำความสะอาดฟัน
- เทียบสีฟันก่อนการฟอกสีฟัน
- ใส่ที่ป้องกันเหงือกจากน้ำยาฟอกสีฟัน
- ทาเจลฟอกสีฟันลงบนฟันของคนไข้
- ฉายแสงจากเครื่องฟอกสีฟันไปยังเจลเพื่อให้แสงทำปฏิกิริยากับน้ำยาฟอกสีฟันน้ำยาฟอกสีบางชนิดก็ไม่ต้องใช้ การฉายแสงอาจต้องล้างน้ำยาออกแล้วทาใหม่ 2-3 รอบ ซึ่งรวมเวลาแล้วประมาณ 30-60 นาที
- ปล่อยน้ำยาฟอกสีฟันไว้ประมาณ 30-60 นาทีเพื่อทำการฟอกสีฟัน
- ถอดเครื่องมือป้องกันเหงือกและล้างทำความสะอาดฟัน
- เทียบสีพื้นหลังการฟอกสีฟันเพื่อให้คนไข้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง
อาการเสียวฟันหลังการฟอกสีฟัน
การฟอกสีฟันอาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้บ้างไม่ว่าจะเป็นการเสียวฟันเพราะอุณหภูมิการสัมผัสหรือแรงกดต่างๆในคนไข้บางรายอาจจะมีอาการปวดจี๊ดลงไปถึงกลางฟันคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการเสียวฟันหลังการฟอกสีฟัน ได้แก่ คนไข้ที่มีภาวะเหงือกร่นมีฟันแตกหรือมีรอยรั่วที่เกิดจากการซ่อมแซมฟันได้โดยทั่วไปแล้วอาการเสียวฟันจะหายไปในช่วงระยะเวลา 1-2 วัน แต่ในบางกรณีอาจเกิดอาการเสียวฟันนานถึง 3-5 วันก็เป็นได้
คำแนะนำหลังการฟอกสีฟัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีคล้ำหรือมีสีเข้มจัดรวมไปถึงการงดสูบบุหรี่เป็นเวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์หรืองดได้ตลอดไปจะดีมาก
- ทำความสะอาดช่องปากอยู่เสมอควรแปรงฟันให้ถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันหลังการรับประทานอาหารและก่อนนอน
- ควรพบแพทย์หลังการฟอกสีฟันเมื่อฟันเริ่มมีการเปลี่ยนสีทั้งนี้เพื่อให้ความขาวคงอยู่ได้นาน การเปลี่ยนสีจะขึ้นอยู่กับการดูแลและพฤติกรรมการบริโภค และระยะเวลาหลังฟอกสีฟัน
ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์และวางแผนการรักษา
ทันตแพทย์จะสอบถามถึงความคาดหวังของท่านและตรวจสภาพฟันเพื่อดูว่าเหมาะสมกับการทำเคลือบผิวฟันหรือไม่นอกจากนี้ทันตแพทย์จะบอกถึงวิธีการทำและข้อ จำกัด ของการรักษานอกจากนี้ทันตแพทย์อาจจะต้องถ่ายเอ็กซเรย์เพื่อประกอบการพิมพ์ปากและฟันของท่านด้วย
การเตรียมการรักษา ทันตแพทย์จะต้องกรอเนื้อฟันออกเล็กน้อยประมาณ 0.3-1 มิลลิเมตรซึ่งจะเท่ากับความหนาของตัววีเนียร์เพื่อให้วีเนียร์สามารถปิดทับลงไปได้พอดี แต่ก่อนการกรอผิวฟันนั้นทันตแพทย์จะพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยาชาหรือไม่และต่อจากนั้นทันตแพทย์จึงจะทำรูปแบบจำลองและพิมพ์ฟันของท่านรูปแบบจำลองฟันนี้จะถูกส่งไปยังห้องแลปทันตกรรมเพื่อทำชิ้นส่วนวีเนียร์โดยปกติขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 5-7 วันจึงนัดมาใส่วีเนียร์ด้วยซีเมนต์พิเศษเฉพาะเพื่อสีจะไม่เพี้ยนและยึดติดได้แน่น
การติดวีเนียร์ ก่อนการติดวีเนียร์อย่างถาวรบนฟันของท่านทันตแพทย์จะทดลองวางดูว่าขนาดและสีเหมาะสมหรือไม่ซึ่งทันตแพทย์สามารถจัดแต่งรูปแบบหรือสีให้ได้จนท่านพึงพอใจก่อนจะใส่เข้าไปขั้นต่อไปคือการเตรียมพื้นก่อนการใส่ทันตแพทย์จะทำความสะอาดและขัดฟันของท่านเพื่อให้ฟันมีความหยาบเพื่อจะได้ติดแน่นและติดกาวชนิดพิเศษเพื่อให้วีเนียร์ฟันยึดกับฟันอย่างแน่นเมื่อเข้าที่ดีแล้วจะมีการฉายแสงลงไปบนตัวเคลือบฟันเพื่อทำให้กาวนั้นทำปฏิกิริยาและแห้งเร็วขึ้นขั้นตอนสุดท้ายคือการทำความสะอาดเนื้อกาว (ซีเมนต์) ส่วนเกินออกให้หมดทดลองการกัดและการสบฟันและปรับแต่งอื่น ๆ ตามเหมาะสม
การปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน การปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันเป็นการใช้วัสดุสีเหมือนฟันมาตบแต่งรูปร่างของฟันที่อยู่ติดกับช่องว่างโดยทั่วไปจะต้องเพิ่มความกว้างของฟันที่อยู่ติดกับช่องว่างทั้ง 2 ซี่เพื่อเป็นการเฉลี่ยขนาดของฟันที่เพิ่มขึ้นไม่ให้เห็นว่าไดซี่หนึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจนเกินไปและยังคงรูปร่างที่ถูกต้องตามธรรมชาติไว้ แต่วิธีนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสีฟัน
ที่มา : แผ่นพับเรื่อง ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม โรงพยาบาลปิยะเวท / บางปะกอก9