การตรวจวินิจฉัยด้วย MRI สำหรับ “เต้านม” (MRI Breast)
ในหญิงไทยนั้นมีอัตราการพบมะเร็ง การคลำเต้านมและพบก้อนเนื้อในเต้านม อาจจะไม่ใช่มะเร็งเต้านมเสมอไป แม้ในวัยที่มีความเสี่ยงสูง คืออายุ 40-60 ปี ที่ก้อนเนื้อนั้นจะไม่ใช่มะเร็งเต้านมมีสูงมากกว่า ดังนั้น ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรมารับการตรวจวินิจฉัยเฉพาะทาง แม้จะคลำไม่พบก้อนเนื้อที่หน้าอกก็ตาม เพราะถือเป็นช่วงวัยที่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม เพราะหากตรวจพบเร็ว และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี มะเร็งเต้านมมีโอกาสหายสูงถึง 90%
การตรวจเต้านมด้วย MRI จะเป็นการช่วยเสริมในการให้ข้อมูลโรคของเต้านมเพิ่มเติม ดังนี้
- ดูความผิดปกติเพิ่มเติมจากที่ตรวจพบโดยแมมโมแกรม
- ตรวจเสริมในรายที่เต้านมมีความหนาแน่นมากและมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูง ผลการตรวจด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์แล้วไม่ชัดเจน
- ตรวจดูความสมบูรณ์ของเต้านมที่เสริมไว้ (เช่น เต้านมที่เสริมไว้รั่วหรือแตก) – แยกระหว่างเนื้อเยื่อแผลเป็นและเนื้อมะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ําหลังการผ่าตัดไปแล้ว – ตรวจหาตําแหน่งก้อนเนื้อที่มีหลายๆก้อนในเต้านม
- ตรวจเสริมว่ามะเร็งเต้านมนั้นแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นหรือผนังทรวงอกหรือไม่
- ใช้ติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัดและหลังฉายรังสีรักษา
การตรวจด้วยเครื่อง MRI สำหรับตรวจเต้านม
โดยปกติการตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging)จะเป็นการตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริงของส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของร่างกายได้อย่างถี่ถ้วน ซึ่งทำให้ภาพการตรวจเต้านมละเอียดที่สุด ดังนั้นการตรวจ MRI เต้านมจึงทำให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของก้อนเนื้อหรือถุงน้ำในเต้านมได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น