การผ่าตัดคลอดบุตรเป็นอย่างไร

ความรู้เรื่องการผ่าตัดคลอดบุตร

การผ่าตัดคลอดบุตร (Cesarean section) หมายถึง การผ่าตัดเพื่อคลอดทารกผ่านรอยผ่าที่หน้าท้องและรอยผ่าที่ผนังมดลูกในช่วงอายุครรภ์ ที่ทารกสามารถมีชีวิตรอดได้ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์ จะผ่าท้องทําคลอดก็ต่อเมื่อมีเหตุผลทางการแพทย์โดยพิจารณาในรายที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้เองหรือคลอดได้แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดาหรือทารก

เหตุผลทางการแพทย์ในการผ่าตัดคลอดบุตร

  1. การคลอดติดขัด จากสาเหตุดังต่อไปนี้
    1. การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับกระดูกเชิงกรานของมารดาโดยปกติทารกจะคลอดโดยใช้ศีรษะเป็นส่วนนําเคลื่อนผ่านช่องเชิงกรานของมารดาแล้วออกมาทางช่องคลอดในรายที่ศีรษะทารกมีขนาดใหญ่กว่าขนาดช่องเชิงกรานของมารดาจะไม่สามารถคลอดได้แพทย์จะวินิจฉัยภาวะดังกล่าวนี้โดยการตรวจภายใน ในช่วงเจ็บครรภ์คลอดเป็นระยะๆแล้วพบว่าศีรษะของทารกไม่เคลื่อนต่ำลงมาหรือปากมดลูกไม่มีการเปิดเพิ่มขึ้น
    1. ทารกอยู่ในท่าหรือแนวที่ผิดปกติ  เช่น ทารกอยู่ในแนวขวางซึ่งไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้หรือทารกท่าผิดปกติบางกรณีถ้าปล่อยให้คลอดทางช่องคลอดจะมีโอกาสเสี่ยงหรือเกิดอันตรายต่อทารก  เช่น  ทารกที่มีส่วนนําเป็นก้นครรภ์แฝดที่ทารกไม่ได้มีศีรษะเป็นส่วนนําทั้งคู่
    1. การขวางกั้นช่องทางคลอดจากก้อนเนื้องอก  เช่น  เนื้องอกมดลูกเนื้องอกรังไข่
    1. ความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูกที่แก้ไขแล้วไม่เป็นผลทําให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้
  2. ทารกในครรภ์มีการขาดออกซิเจนหรือมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดออกซิเจน จากการตรวจพบเสียงหัวใจของทารกเต้น
  3. ผิดปกติและไม่สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้โดยเร็ว
  4. รกเกาะต่ำ คือ  ภาวะที่รกเกาะบริเวณปากมดลูกในตําแหน่งที่ต่ำกว่าส่วนนําของทารก ทําให้ขวางทางออกถ้าปล่อยให้คลอดทางช่องคลอด จะทําให้เลือดออกมากจนเป็นอันตรายต่อมารดาและทารก
  5. เคยผ่าท้องทําคลอดหรือผ่าตัดก้อนเนื้องอกที่มดลูกมาก่อนการผ่าตัดเหล่านี้จะทําให้เกิดแผลเป็นที่ผนังมดลูกซึ่งเป็นบริเวณที่มีความอ่อนแอ ถ้าปล่อยให้มีการเจ็บครรภ์คลอดอาจทําให้ เกิดการปริหรือแตกบริเวณแผลเป็นที่ผนังมดลูกได้
  6. ภาวะสายสะดือย้อยที่ทารกยังมีชีวิตอยู่และปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
  7. กระดูกเชิงกรานหักหรือความผิดปกติของช่องทางคลอดซึ่งอาจเป็นโดยกําเนิดหรืออุบัติเหตุ
  8. มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
  9. เหตุผลอื่นๆ เช่น การติดเชื้อเริมที่อวัยวะสืบพันธุ ในช่วงระยะใกล้คลอดโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรมหรือสูติกรรมบางกรณี เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงที่จําเป็นต้องให้คลอดโดยเร็ว

ข้อควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจผ่าตัดคลอดบุตรอาจจะไม่เหมาะสม ได้แก่

  1. ทารกเสียชีวิตในครรภ์
    1. ทารกพิการที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้หลังคลอด

การให้ยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดคลอดบุตร

ก่อนการผ่าตัดจะได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกซึ่งทําได้  2 วิธี คือ

  1. การดมยาสลบ เป็นการฉีดยาให้หลับแล้วใส่ท่อช่วยหายใจเข้าไปในหลอดลมข้อดีคือใช้เวลาในการเตรียมไม่นาเหมาะในกรณีฉุกเฉินที่ต้องการให้รีบคลอด แต่ยาดมสลบอาจกดการหายใจของทารกและในรายที่มารดาใส่ท่อช่วยหายใจยากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสําลักเอาเศษอาหารเข้าปอดและเกิดปอดอักเสบตามมา
    1. การฉีดยาชาเข้าบริเวณไขสันหลังเป็นการแทงเข็มขนาดเล็กเข้าช่องน้ำไขสันหลังระดับเดียวกับบั้นเอวเพื่อที่จะฉีดยาชาเข้าไปทําให้ หมดความรู้สึกเฉพาะส่วนล่างของร่างกายตั้งแต่ระดับเหนือเอวเล็กน้อยลงมาจนถึงปลายเท้าข้อดีคือทารกไม่ถูกกดการหายใจจากยา และมารดาจะรู้สึกตัวในขณะผ่าตัดแต่ไม่รู้สึกจ็บในบริเวณที่ทําการผ่าตัดทําให้มารดาสามารถชื่นชมทารกได้ทันทีหลังเกิด นอกจากนี้ฤทธิ์ของยาชาอาจช่วยลดอาการเจ็บแผลในระยะหลังคลอดใหม่ๆได้แต่วิสัญญีแพทย์อาจต้องใช้เวลาในการทําหัตถการนานกว่าวิธีดมยาสลบการเลือกวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของวิสัญญีแพทย์ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาตามความจําเป็นเร่งด่วนโรคหรือภาวะแทรกซ้อนของมารดาข้อบ่งชี้และข้อบ่งห้ามของการระงับความรู้สึกแต่ละวิธี

ขั้นตอนในการผ่าตัดคลอดบุตร

                สตรีตั้งครรภ์ที่จะรับการผ่าท้องทําคลอดจะถูกจัดให้อยู่ในท่านอนหงายเอียงตัวไปทางด้านซ้ายหรือดันมดลูกไปทางด้านซ้ายเพื่อป้องกันมดลูกไปกดทับหลอดเลือดดําใหญ่ภายหลังจากที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกและทําความสะอาดหน้าท้องแล้วแพทย์จะลงแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องโดยแผลผ่าตัดอาจเป็นแนว ตรงจากบริเวณใต้สะดือถึงบริเวณหัวหน่าวหรือแนวขวางบริเวณเหนือหัวหน่าวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ตามความเหมาะสม ต่อจากนั้นจะทําการผ่าตัดแยกผนังหน้าท้องชั้นต่างๆเข้าสู่ช่องท้องทีละชั้น จนถึงตัวมดลูกแพทย์จะลงแผลผ่าตัดผ่านเข้าไปในมดลูก ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะลงมีดในแนวขวางบริเวณมดลูกส่วนล่างส่วนการลงแผลผ่าตัดที่มดลูกในแนวดิ่งจะทําเฉพาะในรายที่จําเป็นเท่านั้น  เช่น  มีรกเกาะต่ำทางด้านหน้าหรือเป็นมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมีโอกาสที่จะทําให้มดลูกแตกในการตั้งครรภ์  ครั้งต่อไปมากกว่าการลงมีดในแนวขวางที่ตัวมดลูกหลังจากนั้นจะทําการคลอดทารกและรกผ่านทางแผลผ่าตัดและเย็บซ่อมมดลูกและผนังหน้าท้องชั้น ต่างๆทีละชั้นจนถึงชั้นผิวหนัง

ความเสี่ยงและผลข้างเคียง

            ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดบุตร

                เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดคลอดบุตรกับการคลอดทางช่องคลอดแล้วมีการผ่าท้องทําคลอดมีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดโดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีทั้งที่เกิดในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดรวมทั้งความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป

            ภาวะแทรกซ้อนในขณะผ่าตัด

  1. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกพบประมาณร้อยละ 0.5  เช่น  สําลักน้ำหรือเศษอาหารเข้า ไปในหลอดลมความดันโลหิตต่ำช็อก
  2. แผลผ่าตัดที่ตัวมดลูกอาจฉีกขาดไปจนถึงปากมดลูกช่องคลอดหรือเส้นนเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกพบได้ประมาณ          ร้อยละ 1-2 ทําให้เสียเลือดมากในขณะผ่าตัด
  3. อันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง พบประมาณร้อยละ 0.1 เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และลําไส้
  4. อันตรายต่อทารก พบประมาณร้อยละ 1-2 เช่น กระดูกหักโดนมีดบาด

ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

  1. มดลูกอักเสบติดเชื้อพบประมาณร้อยละ 0.6
    1. แผลผ่าตัดติดเชื้อพบประมาณร้อยละ 2.5-6
    1. การติดเชื้อในช่องท้องและมีถุงหนองในอุ้งเชิงกราน
  2. การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบทางเดินหายใจ
  3. การตกเลือดในช่องท้องพบประมาณร้อยละ 0.5
  4. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด พบน้อยกว่าร้อยละ 0.1
  5. โอกาสมารดาเสียชีวิตจากการผ่าท้องทําคลอด พบประมาณ 1 รายต่อการผ่าตัด 12,000 ราย
  6. ทารกอาจมีการหายใจเร็วผิดปกติเกิดขึ้นชั่วคราวหลังคลอด พบได้ ร้อยละ 3.1

ความเสี่ยงในระยะยาว

  1. เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมดลูกแตกในการตั้งครรภ์ ครั้งถัดไป พบประมาณร้อยละ 0.2-0.7 โดยมาก จะเกิด ในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์หรือเมื่อมีการเจ็บครรภ์คลอด
    1. เพิ่มอุบัติการณ์ของรกเกาะต่ำและรกฝังตัวลงลึกในผนังมดลูกในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปโอกาสที่รกจะเกิดการฝังตัวลึกในผนังมดลูกจะมากขึ้นตามจํานวนครั้งของการผ่าท้องทําคลอดทําให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อมามีความเสี่ยงที่จะเกิดการตกเลือดและแพทย์อาจต้องทําการตัดมดลูกเพื่อช่วยชีวิต

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดคลอดบุตร

                การผ่าตัดคลอดบุตรอาจเป็นไปได้ทั้งแบบที่มีการเตรียมตัวล่วงหน้าหรือแบบผ่าตัดฉุกเฉินขณะเจ็บครรภ์คลอดขึ้นอยู่กับเหตุผลของการผ่าตัด แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใดจะได้รับการเตรียมการจากแพทย์คล้ายกัน

  1. แพทย์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดบุตรและให้ลงนามยินยอมเข้ารับการผ่าตัด
    1. งดอาหารและน้ำทางปากอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด อาจยกเว้นในกรณีการผ่าตัดฉุกเฉิน
    1. ทําความสะอาดและโกนขนบริเวณสะดือและท้องน้อยตําแหน่งที่จะลงแผลผ่าตัด
    1. เจาะเลือดเพื่อใช้ในการเตรียมเลือดเผื่อไว้ใช้ในกรณีที่มารดาอาจเสียเลือดมากในระหว่างผ่าตัด
    1. ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดํา
    1. ใส่สายสวนคาไว้ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะไม่ให้กระเพาะปัสสาวะโป่งพองซึ่งจะช่วยให้เห็นส่วนล่างของมดลูกได้อย่างชัดเจนและป้องกันอันตรายต่อกระเพาะปัสสสาวะในขณะผ่าตัด
    1. สวนอุจจาระเพื่อให้ทวารหนักและลําไส้ใหญ่ส่วนล่างปราศจากอุจจาระยกเว้นมีข้อห้ามหรือกรณีการผ่าตัดฉุกเฉิน

การดูแลหลังการผ่าตัดคลอดบุตร

  1. โดยทั่วไปจะงดน้ำและอาหารประมาณ 12-24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดในวันถัดมาสามารถดื่มน้ำรับประทานอาหารเหลวและอาหารอ่อนได้ตามลําดับ พร้อมกับการหยุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดําและหลังจากนั้นสามารถที่จะรับประทานอาหารปกติได้
    1. ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรกจะได้รับยาแก้ปวดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดหรือเข้ากล้ามเนื้อหลังจากนั้นสามารถระงับปวดด้วยยาแก้ปวดชนิดรับประทาน เช่น พาราเซตามอล
    1. สามารถถอดสายสวนปัสสาวะออกได้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด
    1. ถ้าไม่ปวดแผลผ่าตัดมากสามารถให้ทารกดูดนมได้ในวันแรกหลังผ่าตัดเพื่อช้วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็ว ขึ้นและยัง เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
    1. ในวันแรกหลังผ่าตัดสามารถเปลี่ยนอิริยาบถโดยการลุกนั่งลุกเดินใกล้ๆการเปลี่ยนอิริยาบถได้เร็วจะช่วยให้ลําไส้กลับมาทํางานได้เร็วทําให้ท้องไม่อืดลดการเกิดพังผืดในช่องท้องและป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
    1. โดยทั่วไปจะไม่ให้แผลผ่าตัดถูกน้ำประมาณ 7 วัน หากเย็บแผลด้วยไหมละลายไม่ต้องตัดไหมหากเย็บด้วยไหมธรรมดาให้ตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน
    1. โดยทั่วไปถ้าไม่ มีภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับบ้านได้ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังผ่าตัด

ควรรีบกลับมาพบแพทย์ถ้ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้  เช่น ไข้มีน้ำหรือเลือดออกจากแผลผ่าตัดปวดแผลมากขึ้นหรือแผลบวมแดง มีหนอง น้ำคาวปลาออกปริมาณมากขึ้นหรือนานกว่า 2 สัปดาห์


Scroll to Top