Post Views: 369
เหล้า สาเหตุสำคัญในการเกิดโรคมะเร็ง
แอลกอฮอล์เช่นเดียวกับบุหรี่ แอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในสารไม่กี่ชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ประเภทของแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นไวน์เบียร์หรือสุราการดื่มแอลกอฮอล์ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งที่ศรีษะและลำคอ มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก
ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเหล่านี้จะสูงขึ้น หากดื่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาผ่านไป ความเสี่ยงจะสูงขึ้นสำหรับโรคมะเร็งกล่องเสียงหลอดอาหารและช่องปาก เนื่องจากเนื้อเยื่อเหล่านี้สัมผัสโดยตรงกับแอลกอฮอล์เมื่อคนดื่มเข้าไป
สาเหตุที่แอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง
- ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับสารเคมี 2 ชนิดที่สามารถทำลายดีเอ็นเอภายในเซลล์:
- เอทานอล ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อะซีตัลดีไฮด์ หรือสารก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของสารเอทานอลในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอภายในเซลล์ทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง
- แอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อการสลายฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะเพิ่มปริมาณเอสโตรเจนในเลือด การมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมากกว่าปกติ เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่และมะเร็งมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนและผู้หญิงที่รับการบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน
การดื่มแอลกอฮอล์อาจลดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี โฟเลต แคโรทีนอยด์ - แอลกอฮอล์อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
สำหรับบางคนแอลกอฮอล์เป็นสิ่งเสพติด การดื่มจะหนักขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสังคมที่ร้ายแรง ผู้ที่ดื่มอย่างหนักเมื่อหยุดดื่มกะทันหันอาจเกิดอาการถอนตัวเช่น อาการสั่น สับสน เห็นภาพหลอน ชักและปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ดื่มหนักไม่ควรหยุดดื่ม แต่หมายถึงผู้ดื่มหนักควรพูดคุยกับทีมดูแลสุขภาพเกี่ยวกับวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการหยุดดื่ม