บริการทางการแพทย์

ศูนย์แพทย์แผนจีน

open everyday
7:00-19:00 Tel. 02-129-5555

ศูนย์แพทย์แผนจีนโรงพยาบาลปิยะเวท

ในยุคที่ผู้คนมีทางเลือกด้านการรักษา สามารถสรรหาการแพทย์แผนต่างๆ เพื่อรักษาความเจ็บป่วยของตัวเองได้อย่างตรงจุดมากขึ้น การรักษาโรคจึงมิได้จำกัดอยู่เฉพาะแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังมีแพทย์ทางเลือกหลากหลายแขนงให้พิจารณา หนึ่งในนั้นก็คือแพทย์ทางเลือกแผนจีน ศาสตร์แห่งการรักษาที่ได้รับการยอมรับและใช้กันมายาวนานกว่า 5,000 ปี

ศูนย์แพทย์แผนจีน โรงพยาบาลปิยะเวท เปิดบริการขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ใช้บริการมีข้อดีคือเป็นศาสตร์การรักษาที่เป็นธรรมชาติ ปลอดภัย ไร้สารเคมี และไม่มีผลข้างเคียงจากการกินยา แต่ใช้หลักการปรับสมดุลของร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนเลือดลมทั้งเฉพาะจุดและทั่วร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฝังเข็ม การครอบแก้ว นวดทุยหนา (การนวดแผนจีน) กัวซา เป็นต้น ซึ่งสามารถรักษาควบคู่ไปกับการแพทย์แผนปัจจุบันได้ โดยมีแพทย์แผนจีนผู้เชี่ยวชาญและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรืออีกนัยหนึ่งคือใบประกอบโรคศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุขให้การดูแลรักษา

อาการที่สามารถบำบัดรักษาได้โดยการแพทย์แผนจีน

  • รักษาและบรรเทากลุ่มอาการปวดต่างๆ
  • อัมพฤกษ์อัมพาตและผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคทางหู
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคเครียดนอนไม่หลับ
  • โรคไมเกรนอาการปวดหัวเรื้อรัง
  • รักษาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไซนัส ภูมิแพ้หอบหืด
  • โรคทางผิวหนังความงามและปัญหาผมร่วง ผมบาง
  • โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
  • โรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
  • โรคเบาหวาน
  • ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วนหรือเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศวัยทองทั้งหญิงและชาย
  • โรคอื่นๆซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับว่าการฝังเข็มสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ ดังนี้

  1. โรคหรือกลุ่มอาการที่การฝังเข็มน่าจะถูกนำมาใช้เป็นหลักเพราะให้ผลการรักษาดีเยี่ยม

สาเหตุจากอาการปวดต่างๆได้แก่ปวดหัว, ปวดเข่า, ปวดหลัง, ปวดร้าวลงขา,ปวดคอ, ปวดไหล่, ไหล่ติด, ปวดหลังการผ่าตัด,ปวดข้อศอก, ปวดฟัน,โรคหลอดเลือดสมอง,ปวดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์,ปวดบวมจากอุบัติเหตุ, ปวดประจำเดือน,ปวดจากนิ่วในไต,ปวดท้องจากนิ่วในถุงน้ำดี,อาการเจ็บปวดบริเวณใบหน้าช่องปากและข้อต่อขากรรไกรเป็นต้น

โรคอื่นๆได้แก่โรคภูมิแพ้,อาการไม่พึงประสงค์จากการรังสีรักษาและ/หรือเคมีบำบัด,โรคซึมเศร้า,ความดันโลหิตสูง,ความดันโลหิตต่ำ, กระตุ้นการคลอดลูก,ทารกในครรภ์ไม่กลับหัวก่อนคลอด,แพ้ท้องเวียนหัว,คลื่นไส้อาเจียน,โรคกระเพาะอาหาร,ภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยเป็นต้น

  1. โรคหรือกลุ่มอาการที่การฝังเข็มใช้ได้ผลดีและควรมีการศึกษาวิจัยไปอย่างต่อเนื่อง

สิว,โรคเก๊าท์,ไขมันในเลือดสูง,โรคพังผืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น,โรคงูสวัด,ปวดปลายประสาทหลังเป็นงูสวัด,โรคข้ออักเสบ,ปวดหลังการผ่าตัดส่องกล้อง,โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชาย,มีบุตรยาก,ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ,น้ำนมน้อย/ไม่เพียงพอเลี้ยงลูก,โรคอ้วน,ภาวะต่างๆก่อนมีประจำเดือน,นอนไม่หลับ,ปวดคอ,ปวดประสาทคอร้าวไปแขน,ปวดตา,ปวดหู,ปวดท้องทางเดินอาหารอาหารเป็นพิษ,อาการปวดจากโรคมะเร็ง,ภาวะเครียด,โรคบ้านหมุนน้ำในหูไม่เท่ากัน,หวัดเจ็บคอทอนซิลอักเสบ,หอบหืด,อาการคัน,โรคผื่นคัน,กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก,หน้าเบี้ยวชักกระตุกบนใบหน้าอัมพาตครึ่งหน้า,ช่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัด, สมองเสื่อมจากการหลอดเลือดสมองตีบ,เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน,ติดบุหรี่,ติดเหล้าแก้อาการหลังติดเหล้าเป็นต้น

  1. โรคที่การฝังเข็มน่าจะถูกนำมาใช้เพราะการรักษาในปัจจุบันยังได้ผลไม่ดี

ฝ้า,ลำไส้แปรปรวน,หูหนวก,โรคความพิการในช่องสมอง,พูดติดอ่าง,โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง,โรคปอดหัวใจสัมพันธ์เรื้อรัง

  1. โรคที่ใช้การฝังเข็มกระตุ้นร่วมไปกับการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและวิธีการของแพทย์ในปัจจุบัน

อัมพฤกษ์อัมพาต, โรคระบบหายใจล้มเหลว,อาการโคม่า,อาการชักในเด็กเล็ก,อาการเจ็บปวดหน้าอกของหัวใจเส้นเลือดหัวใจตีบ

วิธีการรักษา

  • การตรวจวินิจฉัยตามหลักแพทย์แผนจีน
  • การฝังเข็ม
  • การครอบแก้ว
  • การนวดทุยหนา
  • กัวซา

เริ่มต้นจากการวินิจฉัยโรคตามหลักแพทย์แผนจีน ซึ่งจะใช้แนวทาง 4 หลักประกอบกัน ได้แก่

  1. การดู สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นภายนอก เช่น ดูสีลิ้น ดูสีหน้า ท่าทาง ลักษณะการนั่ง ยืน เดิน เป็นต้น
  2. การดมและการฟัง ฟังเสียงลมหายใจ เสียงพูด เสียงไอสังเกตกลิ่นปาก กลิ่นตัว กลิ่นปัสสาวะและอุจจาระของผู้ป่วย
  3. การถาม ซักถามอาการและประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว.
  4. การสัมผัส ได้แก่จับชีพจร (แมะ) แพทย์จะใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง แตะลงบนชีพจรตรงบริเวณเส้นเลือดแดงใกล้ข้อมือทั้งสองข้าง ซึ่งข้อมือแต่ละข้างจะสะท้อนถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะภายในที่ต่างกัน การจับชีพจรจึงช่วยให้แพทย์ทราบว่ามีอวัยวะใดในร่างกายที่ทำงานมากหรือน้อยเกินไปจนเสียสมดุลบ้างรวมกับการจับคลำบริเวณต่างๆ เช่นบริเวณที่มีอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายด้วย

เมื่อได้ข้อมูลจากการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะวิเคราะห์ว่าอาการของผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มใด แล้วจึงดำเนินการรักษาตามหลักการแพทย์แผนจีนต่อไป

การฝังเข็ม(Acupuncture) เป็นวิธีการรักษาโรคด้วยการใช้เข็มซึ่งมีหลายขนาดแทงลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆการรักษาแบบนี้เป็น“การรักษาโรคภายในจากภายนอก” ด้วยวิธีการเฉพาะแพทย์แผนจีนเชื่อว่าเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลมมีลักษณะเป็นทางหลักและแขนงย่อยที่โยงใยถึงกันจึงสามารถเชื่อมโยงอวัยวะส่วนต่างๆให้รวมเป็นองค์เดียวอย่างเป็นระบบวิธีการฝังเข็มโดยทั่วไปมักจะเลือกฝังเข็มบนจุดลมปราณที่อยู่บนเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลมเพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานโรคภายในร่างกายของผู้ป่วยทำงานหรือเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายจึงสามารถรักษาโรคได้ตามความมุ่งหมายของหลักวิชาการแพทย์แผนจีน

ก่อนการฝังเข็มควรเตรียมตัวอย่างไร

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. รับประทานอาหารก่อนมาฝังเข็มอย่างน้อย 30-60 นาที
  3. สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไปสวมกางเกงที่หลวมและสวมเสื้อแขนสั้น
  4. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ก่อนหรือหลังฝังเข็ม

ผู้ป่วยกรณีเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษาก่อนการฝังเข็ม

  1. สตรีตั้งครรภ์
  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
  3. โรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
  4. โรคที่ต้องการการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน

การฝังเข็มควรจะรักษากี่ครั้ง? และกี่ครั้งจึงจะเห็นผล?

การปรับสมดุลด้วยการฝังเข็มนั้นจะต้องใช้เวลาหลังจากการฝังเข็มครั้งแรกผู้ป่วยจะรู้สึกดีหายปวดนอนได้ดีเข้าสู่สมดุลใหม่แต่ผลการรักษาหลังจากครั้งแรกนั้นจะอยู่นานแค่ 2-3 วันหลังจากการฝังเข็มแล้วอาการต่างๆจะกลับมาอีกได้เนื่องจากร่างกายจำสมดุลเก่าได้มากกว่าดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการฝังเข็มอย่างต่อเนื่อง 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ไประยะหนึ่งหรืออย่างน้อยประมาณการรักษา 10 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

การครอบแก้ว(Cupping) เป็นอีกหนึ่งการรักษาของศาสตร์แพทย์แผนจีนโดยสมัยก่อนจะใช้เขาสัตว์ต่อมาใช้กระบอกไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันใช้แก้ว ซึ่งมีหลากหลายขนาดให้แพทย์พิจารณาวางในตำแหน่งต่างๆของร่างกายให้เหมาะสมการครอบแก้วมีผลในด้านคลายกล้ามเนื้อ ช่วยการไหลเวียนของลมปราณและกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยใช้กลไก2อย่างคือ

  • กระตุ้นกลไกการอักเสบเฉพาะที่และเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง
  • กระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทสัมผัสบางชนิดทำให้มีฤทธิ์ลดปวดจึงนำการครอบแก้วมาใช้รักษาอาการปวดต่างๆทั้งในการปวดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเช่นคอบ่าไหล่

การนวดทุยหนา(Tuina) คำว่า “ทุย” หมายถึง ผลัก และ “หนา” หมายถึง คว้าเอาไว้ การนวดแบบทุยหนาจึงเป็นการใช้มือสร้างเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ระบบสรีระและพลังงานของร่างกาย เทคนิคเบื้องต้น ได้แก่ การลูบ การถู การคลึง การจับ การกด การบีบ การจี้ เป็นต้น นอกจากนี้แพทย์จะใช้นิ้วมือ ข้อนิ้ว ฝ่ามือ และข้อศอก ร่วมในการกระตุ้นด้วย รวมถึงการดัด โยกโคลง และขยับเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มและข้อต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษานอกจากการนวดทุยหนาจะเป็นหัตถการที่ใช้ในผู้ใหญ่แล้วยังสามารถใช้ในเด็กเล็กได้อีกด้วย ซึ่งเป็นวิธีการรักษาและบำรุงเด็กที่นิยมมากในประเทศจีน เนื่องจากไม่มีผลข้างเคียงใดๆและได้ผลการรักษาที่ดี เช่น อาการเบื่ออาหาร ท้องผูก เด็กที่มีพัฒนาการช้าหรือสมองพิการ(Cerebral palsy) เป็นต้น

กัวซา (Guasa) เป็นการใช้แผ่นกัวซาขูดไปตามเส้นลมปราณ แผ่นกัวซาที่นิยมใช้ได้แก่ หินหยก เขาสัตว์ กระเบื้องที่ไม่มีคม หรือโลหะเป็นต้น โดยรพ. ปิยะเวทจะใช้หินหยกในการทำหัตถการโดยจะขูดตั้งแต่คอ บ่า ไหล่ หลัง เพื่อทำให้เซลล์แยกตัวออกจากกันและเกิดช่องว่าง พิษหรือของเสียก็จะแทรกตัวออกมาผ่านช่องว่างของเซลล์ที่อยู่ใต้ผิวชั้นบนหากบริเวณใดที่ขูดแล้วมีพิษมากจะมีความรู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายอยู่ใต้ผิวหนัง ต้องขูดผิวบริเวณนั้นจนไม่ติดมือ ลื่น นั้นหมายถึงว่าพิษหมดแล้ว สำหรับการทำกัวซาบนใบหน้าจะช่วยผลัดเซลล์ผิว ขับสารพิษที่สะสมบนใบหน้าออกมาช่วยให้ใบหน้ากระชับ เต่งตึง แลดูอ่อนวัย สามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับการฝังเข็ม เพื่อรักษาโรคทางผิวหนังและชะลอริ้วรอยแห่งวัยอีกด้วย

เทคโนโลยีทางการแพทย์แผนจีน

  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
  • โคมไฟอินฟาเรด
  • เครื่องฝังเข็มเลเซอร์

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator) ใช้สำหรับกระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด ลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ป้องกันและชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและลมปราณ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง กระตุ้นการฟื้นตัวของเส้นประสาท เหมาะสำหรับผู้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บของเส้นประสาท กระตุ้นการเรียนรู้ของกล้ามเนื้อ เช่น การกระดกข้อเท้า

โคมไฟอินฟาเรด (Infrared Heater) ใช้โคมที่ให้ความร้อนด้วยคลื่นอินฟาเรดเพื่ออบอุ่นเส้นลมปราณ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวด ความร้อนจากรังสีอินฟาเรดนี้จะสามารถกระจายไปได้เท่ากันตลอดพื้นผิวและแผ่ความร้อนอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

เครื่องฝังเข็มเลเซอร์ (Low Level Laser Therapy) ใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย สามารถนำมาใช้รักษาและฟื้นฟูเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ โดยการนำหลักการแพทย์แผนจีนมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ได้ใช้เข็มจริงจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่กลัวเข็ม เลือดออกง่าย สามารถรักษาโรคต่างๆได้ผลดีอาทิปวดคอปวดหลังปวดไหล่ปวดข้อข้อเกร็งข้อยึดติดเอ็นอักเสบอัมพฤกษ์อัมพาตเป็นต้นอย่างไรก็ตามมีข้อพึงระวังในผู้ที่ตั้งครรภ์และไม่เหมาะที่จะใช้เลเซอร์ในบริเวณที่เป็นมะเร็งติดเชื้อหรือมีแผลในกรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษา 

คุณหมอให้ความรู้ :

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์แผนจีน : นอนมากเกินไป ดีต่อสุขภาพ?

นอนมากเกินไป ดีต่อสุขภาพ? การนอนหลับเป็นกลไกที่สำคัญของร่างกาย เป็นช่วงเวลาพักผ่อนของร่างกายและสมอง แต่หากนอนมากเกินไปก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช

อ่านเพิ่มเติม »

แพทย์แผนจีน : ฝ้า…ปัญหาผิวหน้า ที่ทำให้หมดความมั่นใจ

ฝ้า…ปัญหาผิวหน้า ที่ทำให้หมดความมั่นใจ “ฝ้า” ถือเป็นอีกปัญหาผิวหน้าที่เป็นได้ทุกเพศ ยิ่งเมืองไทยอากาศร้อน ๆ แดดจัด ๆ ยิ่งทำให้เป็น &

อ่านเพิ่มเติม »

แพทย์แผนจีน : น้ำหนักตัวขึ้นผิดปกติ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรานะ !

แพทย์จีน :น้ำหนักตัวขึ้นผิดปกติเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรานะ ! น้ำหนักตัวขึ้นผิดปกติ หรือ มีภาวะอ้วนนั้น จะต้องมาหาสาเหตุกันก่อนว่า เกิดจากอะไร เป็นการน

อ่านเพิ่มเติม »
Scroll to Top