การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นการตรวจระดับฮอร์โมนฮอร์โมนในกระแสเลือด ซึ่งทำหน้าที่เผาพลาญพลังงาน การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกาย ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อให้ร่างกายเผาพลาญพลังงาน
เมื่อใดควรเจาะเลือดตรวจต่อมไทรอยด์
- เมื่อสงสัยภาวะไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป (Hyperthyroidism) เช่น ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก มือสั่น หงุดหงิดง่าย ผมร่วง ใจสัน น้ำหนักลด
- เมื่อสงสัยภาวะไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป (Hypothyroidism) เช่น ขี้หนาว ผิวแห้ง อ้วนขึ้นง่าย ผมร่วง ท้องผูก รู้สึกง่วงนอนบ่อย อ่อนเพลีย
- เพื่อติดตามผลการรักษาจากการรับประทานยา การผ่าตัด หรือการได้รับสารรังสีไอโอดีน
การเตรียมตัว
- ไม่ต้องอดอาหาร
แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triodothyronine) และ T4 (thyroxine) หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ และ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง
ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ Free T4 (FT4) และ Free T3 (FT3) เป็นการหาไทรอยด์ฮอร์โมนชนิดที่เป็นอิสระ ไม่ได้จับกับโปรตีน ร่างกายนำไปใช้ได้จริงในกระแสเลือด ช่วยในการเผาผลาญของร่างกาย การสร้างพลังงาน