มารู้จักการฉายรังสี

  • รังสีรักษากับมะเร็งปากมดลูก

    • มะเร็งปากมดลูกพบได้บ่อยในสตรีเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม
    • การรักษามีหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด ฉายรังสี และหรือร่วมกับเคมีบำบัดโดยขึ้นอยู่กับระยะของโรค
    • ในกรณีที่คณะแพทย์ได้ประเมินผู้ป่วยแล้วว่าต้องได้รบการรักษาด้วยการฉายรังสีทีมรักษาซึ่งประกอบด้วยแพทย์,พยาบาล,นักรังสีเทคนิค และอื่นๆ ต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติ ถึงรายละเอียดของการใช้รังสี

     

  • แนวทางปฏิบัติสำหรับพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย 

    1. ต้องอธิบายถึงแนวทางการรักษาหวังผลการรักษาแค่ไหน (Aim of treatment)  และมีข้อแทรกซ้อนอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้
    2. เนื่องจากการฉายรังสีต้องใช้เวลา 6- 8 สัปดาห์ ติดต่อกัน ดังนั้นการทำความเข้าใจกับญาติ และผู้ป่วยจึงสำคัญมาก ถ้าการฉายรังสีไม่ต่อเนื่องประสิทธิผลต่อการรักษาจะลดลงมาก
    3. การฉายรังสีจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆ บริเวณที่ฉายรังสี การฉายรังสีในมะเร็งปากมดลูก รังสีจะมีผลกระทบต่อลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งระหว่างการฉายรังสีผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดมวนท้อง ปัสสาวะแสบขัดได้ ทีมรักษาต้องอธิบายถึงผลที่อาจเกิดขึ้น เพื่อจะได้ดูแลรักษาแต่ต้นที่เริ่มมีอาการ
    4. บริเวณผิวหนังที่ฉายรังสีอาจจะมี แสบ คันได้ ทีมต้องคอยดูแลใกล้ชิดถ้ามีแผลเกิดจากการฉายรังสีแล้วจะรักษายาก และอาจต้องพักการฉายรังสี ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการรักษา
    5. ทีมต้องให้ความสำคัญ กับอาการไม่พึงประสงค์ทุกอย่างที่ผู้ป่วยแจ้ง และแก้ไขทันที
    6. เมื่อครบการฉายรังสี การตรวจติดตามผู้ป่วยเป็นระยะมีความสำคัญ โดยเฉพาะใน 2 ปีแรก ควรต้องประเมินรอยโรค และอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากรังสี เพื่อจะได้รักษาตั้งแต่เบื้องต้น

                                                                                                                                                     

Scroll to Top