บริการทางการแพทย์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

3 Floor(MRI), Open everyday
7:00-17:00 Tel. 02-129-5555

สุขภาพร่างกายที่ดี หาซื้อไม่ได้” ดังนั้นคุณจึงไม่ควรมองข้ามการดูแลตัวเองและหมั่นไปตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคัดกรองความเสี่ยง ป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมรับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงต่อไปในระยะยาว

ร่างกายของคนเรามีการทำงานตลอดเวลาไม่เคยหยุดพัก แม้ในขณะที่กำลังนอนหลับ ส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานและอายุ ประกอบกับลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพศ วัย โรคประจำตัว หรือแม้กระทั่งการที่บุคคลในครอบครัวเป็นหรือเคยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางกรรมพันธุ์ได้ ทั้งหมดย่อมทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่ต่างกัน การบำรุงรักษาและตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพ ค้นหาความเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สร้างความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือในกรณีที่เริ่มมีอาการผิดปกติก็จะได้หาแนวทางการป้องกันรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อไม่ให้ลุกลามกลายเป็นโรคต่อไป ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท มีความพร้อมที่จะให้บริการด้านการตรวจสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ได้แก่

  • การตรวจสุขภาพ มีโปรแกรมการตรวจสุขภาพหลากหลายให้เลือก ออกแบบขึ้นอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้รับบริการแต่ละบุคคล ตั้งแต่โปรแกรมการตรวจสายตา โปรแกรมการตรวจสุขภาพคู่รัก โปรแกรมการตรวจสุขภาพทั่วไปในแต่ละช่วงวัย เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพนอกสถานที่ เรามีความพร้อมในการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่พนักงานบริษัทในสถานที่ทำงานด้วยการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ร่วมกับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการคัดกรองโรค และให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ทุกท่านมีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างเต็มที่
  • การให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากทีมงานและบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การให้คำแนะนำทางโภชนาการด้านอาหารแก่ผู้รับบริการอย่างถูกต้องและเหมาะสมโดยโภชนากรผู้เชี่ยวชาญ การให้คำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางในแต่ละระบบ
  • การป้องกันโรค เราตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเกิดโรคต่างๆ ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจถึงโรคต่างๆ รวมถึงการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น

หัตถการ / เทคนิคการรักษา 

  • รายการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลปิยะเวท ประกอบไปด้วย
  • การตรวจร่างกายโดยแพทย์ เพื่อดูอาการเบื้องต้นทางร่างกาย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
  • การตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์
  • การตรวจตาโดยจักษุแพทย์
  • การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
  • การตรวจระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจการทำงานของไต
  • การตรวจการทำงานของตับ เพื่อช่วยตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยภาวะโรคตับ
  • การตรวจการทำงานของตับและทางเดินน้ำดี
  • การตรวจการทำงานของตับอ่อน
  • การตรวจการติดเชื้อของตับ
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง
  • การตรวจทางรังสี
  • การตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์
  • การตรวจหัวใจและหลอดเลือด
  • การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ห้องตรวจร่างกายและให้คำปรึกษาที่เป็นสัดส่วน
  • ห้องเจาะเลือด
  • ห้องตรวจสัญญาณชีพและตรวจการมองเห็น
  • ห้องตรวจภายใน
  • ห้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
  • ห้องฉายภาพรังสีและห้องปฏิบัติการต่างๆ
  • ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและล็อคเกอร์เก็บของ
  • ห้องพักผ่อน พร้อมเคาน์เตอร์อาหารว่างที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
  • งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง
  • ควรไปถึงโรงพยาบาลในช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรยเกินไป เนื่องจากงดน้ำและอาหารมาหลายชั่วโมงแล้ว
  • หากกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต สามารถรับประทานต่อได้ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนการตรวจ
  • หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจ หรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  • สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรตรวจในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน
  • หากมีประจำเดือน ให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะและมีผลกระทบต่อผลการตรวจ
  • หากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
  • กรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่องดตรวจเอกซเรย์

 เทคโนโลยีทางการรักษา

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • เครื่องตรวจคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI)
  • การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasound)
  • การตรวจแมมโมแกรม (Mammography)
  • เครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (Exercise Stress Test)

 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ Computerized Tomography (CT Scan)   

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือการตรวจสแกนร่างกายด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาความผิดปกติในบริเวณที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายในบริเวณที่ต้องการตรวจ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและสร้างภาพอวัยวะส่วนนั้นๆ โดยสามารถทำการตรวจเก็บข้อมูลได้มากถึง 64 ภาพ ในการหมุนของหลอดเอกซเรย์ 1 รอบ ทำให้ได้ข้อมูลละเอียด ครอบคลุมอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ครบในเวลาอันรวดเร็ว และยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาสร้างภาพใหม่ได้ทั้ง 2 และ 3 มิติ ในระนาบต่างๆที่ต้องการ รวมทั้งสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ 4 มิติได้ด้วย วิธีนี้แพทย์จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน เพื่อนำผลมาประกอบการวินิจฉัย และสามารถป้องกันรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

ข้อดีของการตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

  • สามารถสแกนตรวจอวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่ได้
  • ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะตรวจสแกน
  • ภาพที่ได้มีรายละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวด์ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น
  • สามารถสแกนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสแกนแบบ MRI

การเตรียมตัวในการตรวจ

  • งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการทดสอบ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ควรงดอาหารมัน งดดื่มชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • สามารถรับประทานยาตอนเช้าวันที่มาตรวจได้ตามปกติ เว้นแต่แพทย์สั่งให้งดยารักษาโรคหัวใจบางชนิดซึ่งอาจทำให้ผลการทดสอบผิดเพี้ยน เช่น งดยากลุ่มที่ทำให้หัวใจเต้นช้า ยากลุ่ม Beta-blockers โดยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ก่อนเข้ารับการตรวจ
  • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ใส่สบาย และสวมใส่รองเท้าที่สามารถเดินหรือวิ่งได้คล่องตัว

คุณหมอให้ความรู้ :

Scroll to Top