การจัดการความเหนื่อยล้าจากมะเร็ง

6 วิธีรับมือกับความเหนื่อยล้าจากมะเร็ง

 

ความเหนื่อยล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียและรู้สึกไม่มีแรง ไม่ใช่ความรู้สึกว่าต้องการการนอนหลับมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาก่อนที่คุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เป็นความรู้สึกที่ต่อเนื่องและก่อให่เกิดความไม่สุขสบายทั้งทางร่างกายหรืออารมณ์ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่สอดคล้องกับการทำกิจกรรมของคุณ มันเป็นความเหนื่อยล้าที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ซึ่งความเหนื่อยล้าจากมะเร็งอาจเป็นผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งเกือบทุกประเภท รวมถึงเคมีบำบัดและการฉายรังสี อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ บางคนอาจรู้สึกเมื่อยล้าเช่นนี้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา  ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก แต่มีหลายวิธีที่จะสามารถช่วยคุณหายจากอาการเหนื่อยล้าได้

  1. พบแพทย์เมื่อคุณเกิดอาการเหนื่อยล้า หากคุณมีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งสาเหตุอาจมาจาก
  • ความเจ็บปวดหรือการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับยาแก้ปวดชนิดเสพติด
  • ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า
  • โภชนาการที่ไม่ดีหรือความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์เช่นระดับโซเดียมโพแทสเซียมแคลเซียมและแมกนีเซียมผิดปกติ
  • โรคโลหิตจางจากระดับเม็ดเลือดแดงต่ำผิดปกติ
  • การรบกวนการนอนหลับเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือโรคขาอยู่ไม่สุข
  • ผลข้างเคียงของยา
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่นปัญหาเกี่ยวกับหัวใจปอดหรือฮอร์โมน
  1. การเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การว่ายน้ำหรือไปฟิตเนส ขยับร่างกายทุกวันถ้าทำได้ การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการต่อต้านความเหนื่อยล้าจากมะเร็ง
  2. การพักผ่อน กำหนดเวลาพักในแต่ละวันของคุณ เพื่อที่คุณจะได้มีแรงในการทำกิจกรรม ที่ต้องการ ควรจำกัดการงีบระหว่างวันให้น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อที่คุณนอนหลับได้ยาวขึ้นในเวลากลางคืน
  3. กินให้ถูกต้อง การดูแลโภชนาการที่ดีมีความสำคัญอย่างมาก แม้ว่าในระหว่างการรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด/ฉายรังสี อาจทำให้คุณทานเบื่ออาหาร ทานได้น้อยลง การทานของว่างที่ดีต่อสุขภาพตลอดทั้งวันสามารถช่วยให้คุณได้รับสารอาหารและพลังงานที่ร่างกายต้องการ อย่างเพียงพอ
  4. สร้างนิสัยการนอนหลับที่ดี ทำตามขั้นตอนง่ายๆเพื่อให้นอนหลับสบายตัวอย่างเช่น ปิดโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1ชั่วโมง ก่อนเข้านอนและหลีกเลี่ยงคาเฟอีนในช่วงบ่าย อย่าลืม จำกัดการงีบระหว่างวันของคุณให้น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
  5. สร้างสมดุลจิตใจและร่างกาย บางคนพบว่าแนวทางหรือกิจกรรมที่ใช้สติ เช่นโยคะหรือการทำสมาธิช่วยได้

            ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่อาจมาจากผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด/ฉายรังสี เช่น เบื่ออาการ คลื่นไส้อาเจียน ทานได้น้อยทำให้ผู้ป่วย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลียและทำให้รู้สึกเมื่อยล้าได้ นอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยังกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินซึ่งมีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ลดลง  โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อ เมื่อได้รับออกซิเจนลดลงทำให้กล้ามเนื้อหดตัว นำมาซึ่งอาการเหนื่อยล้าได้ ความเหนื่อยล้ายัง ส่งผลกระทบต่อร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวัน หรืออารมณ์แปรปรวน  ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับได้ ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

Scroll to Top