การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นการตรวจระดับฮอร์โมนฮอร์โมนในกระแสเลือด ซึ่งทำหน้าที่เผาพลาญพลังงาน การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกาย ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อให้ร่างกายเผาพลาญพลังงาน

เมื่อใดควรเจาะเลือดตรวจต่อมไทรอยด์

  1. มื่อสงสัยภาวะไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป (Hyperthyroidism) เช่น ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก มือสั่น หงุดหงิดง่าย ผมร่วง ใจสัน น้ำหนักลด
  2. เมื่อสงสัยภาวะไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป (Hypothyroidism) เช่น ขี้หนาว ผิวแห้ง อ้วนขึ้นง่าย ผมร่วง ท้องผูก รู้สึกง่วงนอนบ่อย อ่อนเพลีย
  3. เพื่อติดตามผลการรักษาจากการรับประทานยา การผ่าตัด หรือการได้รับสารรังสีไอโอดีน

การเตรียมตัว

  • ไม่ต้องอดอาหาร

แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง

  1. ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triodothyronine) และ T4 (thyroxine) หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ และ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง

  2. ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ Free T4 (FT4) และ Free T3 (FT3) เป็นการหาไทรอยด์ฮอร์โมนชนิดที่เป็นอิสระ ไม่ได้จับกับโปรตีน ร่างกายนำไปใช้ได้จริงในกระแสเลือด ช่วยในการเผาผลาญของร่างกาย การสร้างพลังงาน

 

 

Scroll to Top