วัคซีนโรคงูสวัด (Shingles herpes zoster)

วัคซีนโรคงูสวัด (Shingles herpes zoster)

วัคซีนโรคงูสวัด (Shingles herpes zoster)

โรคงูสวัด เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและผิวหนัง โดยเกิดจากการกระตุ้นของไวรัส varicella ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส หลังจากอาการของโรคอีสุกอีใสหายไปไวรัสสามารถยังคงอยู่อย่างสงบในปมประสาทที่ไขสันหลัง เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีและบุคคลนั้นมีภูมิคุ้มกันลดลงไวรัสจะมีการถูกกระตุ้นและทำให้เกิดโรคงูสวัด ซึ่งจะมีอาการปวดมากและอาจมีอาการนานหลายสัปดาห์หรือเดือน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคน โดยธรรมชาติเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นจะมีการการลดลงของภูมิคุ้มกัน และเหตุนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด การฉีดวัคซีนที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสที่ทำให้อ่อนฤทธ์ จะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวหรือเซลล์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเชื้อไวรัส เพื่อใช้ป้องกันการกระตุ้นตัวไวรัสไม่ให้เกิดโรคได้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(FDA)ได้อนุมัติวัคซีนงูสวัดที่ผลิตด้วยไวรัสที่ทำให้อ่อนฤทธ์ คือวัคซีนงูสวัดชนิดเชื้อมีชีวิตสำหรับใช้ในผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ได้รับการทดสอบในประชากรจำนวนมาก เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคงูสวัดได้

วัคซีนอีสุกอีใสและวัคซีนงูสวัดแตกต่างกันอย่างไร   
  • โรคอีสุกอีใสจะทำให้อาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามลำตัว และจะเกิดตุ่มน้ำใสขึ้นทั่วร่างกาย
  • โรคงูสวัดอาจพบอาการเป็นไข้หรือไม่พบ แต่จะเกิดตุ่มน้ำใสขึ้นในเฉพาะบางที่เท่านั้น เช่น รอบเอว ตุ่มน้ำใสนี้จะคงอยู่ประมาณ 5 วัน จากนั้นจะตกสะเก็ดและหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ เชื้อไวรัส varicella zoster ในบางรายอาจทำให้เกิดผลอย่างรุนแรงจนเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งมักจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย และเกิดอาการสมองอักเสบ นอกจากนี้ผู้ป่วยงูสวัดมักจะมีอาการปวดและทรมานจากการปวดเส้นประสาท  โดยอาการปวดเส้นประสาทที่เกิดจากเชื้อไวรัสงูสวัดมี 2 กลุ่มอาการหลัก คือ
  • กลุ่มที่ 1 อาการปวด/เจ็บ เกิดขณะที่ยังมีแผลของงูสวัด คืออาการปวดที่นำมาก่อนจะมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้น
  • กลุ่มที่ 2 แผล/ตุ่มจากโรคงูสวัดหายดีแล้วตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปถึงหลายปี แต่ยังมีอาการปวดบริเวณที่เคยเป็นแผลงูสวัดนั้น หรืออาการปวดช่วงแรกหายไปนานแล้วแต่กลับมามีอาการปวดแบบเดิมอีกบริเวณที่เคยเป็นงูสวัด

ซึ่งอาการเหล่านี้สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยงูสวัดที่เป็นแล้วเป็นอีกเป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วอาการแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคืออาการปวดเส้นประสาท (postherpetic neuralgia) ที่สามารถพบได้ถึงร้อยละ 40-44 และสามารถพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ตาอักเสบ แผลที่กระจกตา ภาวะแทรกซ้อนที่หู ขณะที่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก ๆ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่า และแพร่กระจายได้ เช่น สมองอักเสบ หรือปอดอักเสบ

บุคคลที่ควรได้รับวัคซีน

นอกจากผู้สูงอายุแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงและควรฉีดวัคซีนงูสวัด ได้แก่ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ, ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน และผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต เนื่องจากคนกลุ่มนี้หากป่วยด้วยโรคงูสวัดจะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ

บุคคลที่ไม่ควรรับวัคซีน

แจ้งผู้ให้วัคซีนหากท่านมีอาการเหล่านี้

  • มีอาการแพ้ร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต บุคคลที่มีอาการแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนโรคงูสวัดชนิดเชื้อตายหนึ่งครั้ง หรือมีอาการแพ้ร้ายแรงต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของวัคซีนนี้ อาจได้รับคำแนะนำให้ไม่รับวัคซีน หรือสามารถสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลของวัคซีนก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีน
  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เกี่ยวกับการใช้วัคซีนโรคงูสวัดชนิดเชื้อตายในสตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้นมบุตร คุณอาจเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • รู้สึกไม่สบาย หากคุณมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หวัด คุณอาจสามารถรับวัคซีนได้ในวันนั้น หากคุณมีอาการเจ็บป่วยปานกลางหรือรุนแรง คุณควรรอจนกว่าคุณจะหายดีหรือสามารถขอคำแนะนำและปรึกษากับผู้ให้บริการก่อนได้ทุกครั้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เจลาติน หรือยานีโอ-มัยซิน(Neomycin) หรือแพ้ส่วนประกอบต่างๆของวัคซีน, ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี หรือผู้ป่วยมะเร็งเกี่ยวกับไขกระดูกหรือระบบน้ำเหลือง ควรเว้นระยะห่างจากวันที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เป็นไข้หรือป่วยควรรอให้หายดีก่อนได้รับวัคซีน
 ฉีดอย่างไร

วัคซีนงูสวัดฉีดเพียง 1 เข็มครั้งเดียว ไม่ต้องกลับมาฉีดซ้ำและยังสามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต

ความเสี่ยงของอาการแพ้วัคซีน

หลังได้รับยาหรือวัคซีนใดๆจะมีโอกาสเกิดอาการแพ้  หลังจากฉีดวัคซีนโรคงูสวัดชนิดเชื้อตายอาจมีอาการดังนี้  ปวด แดง เจ็บ หรือบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน  ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อไข้หนาวสั่น อ่อนล้า พบว่าคนส่วนใหญ่จะเจ็บแขนเล็กน้อยถึงปานกลางหลังจากได้รับวัคซีน และยังมีอาการแดงและบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน บางคนรู้สึกเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว หนาวสั่น ไข้ปวดท้อง หรือคลื่นไส้  ประมาณ 1ใน 6คน ที่ได้รับวัคซีนซอสเตอร์ชนิดเชื้อตายมีผลข้างเคียงที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำ กิจวัตรประจำวันได้  อาการจะหายไปเองในประมาณ 2 ถึง 3 วัน ผลข้างเคียงพบมากในผู้ที่มีอายุน้อยแต่ยังควรได้รับวัคซีนซอสเตอร์ชนิดเชื้อตายครั้งที่สองแม้ว่าจะมีอาการแพ้หนึ่งในอาการเหล่านี้หลังจากได้รับวัคซีนครั้งแรก

อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนนี้

บางคนอาจเป็นลมหลังจากให้การรักษารวมถึงการฉีดวัคซีน การนั่งหรือเอน หลังเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีอาจช่วยป้องกันการเป็นลมและการบาดเจ็บ ที่เกิดจากการหกล้ม แจ้งผู้ให้บริการของคุณทราบ หากคุณรู้สึกเวียนหัว หรือ การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเสียงในหู บางคนอาจเจ็บไหล่ซึ่งอาจร้ายแรงกว่าและยาวนานกว่าการเจ็บทั่วไปที่อาจ เกิดขึ้นหลังจากการฉีดยาอาการนี้แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย การรักษาด้วยยาใด ๆ สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้มีการประมาณ การว่าอาการแพ้วัคซีนดังกล่าวเกิดขึ้น 1 ในล้านครั้งและอาจเกิดขึ้นไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีน เมื่อให้ร่วมกับยาใด ๆ และมีโอกาสน้อยมากที่วัคซีนจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ร้ายแรงหรือเสียชีวิต

Scroll to Top