การฉีดน้ำเชื้อผสมเทียม (IUI)
IUI (Intra Uterine Insemination) คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากแบบหนึ่ง โดยการฉีดน้ำเชื้อเข้าในโพรงมดลูกโดยตรง โดยอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์ขนาดเล็กที่สอดผ่านปากมดลูก ซึ่งวิธีนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีที่เพิ่มโอกาสอัตราการความสำเร็จของการตั้งครรภ์ได้วิธีหนึ่ง
การคัดแยกเชื้ออสุจิ เพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (IUI : Intra Uterine Insemination)
การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลก (IUI) คือ การนำเชื้ออสุจิ ที่ได้คัดเลือกเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง โดยใช้ท่อพลาสติกขนาดเล็ก ๆ สอดผ่านปากมดลูก แล้วฉีดเชื้อ ในช่วงเดียวกันกับการตกไข่ ช่วยให้ตัวอสุจิว่ายเข้าไปที่ท่อนำไข่และผสมกับไข่ง่ายขึ้น ถือเป็นวิธีที่เพิ่มอัตราการความสำเร็จ ของการตั้งครรภ์ จะมากกว่าวิธีธรรมชาติเล็กน้อย
ทำไมโอกาส การฉีดเชื้อตั้งครรภ์มีมากกว่า การมีเพศสัมพันธ์เอง ตามธรรมชาติโอกาสสำเร็จในการฉีดแต่ละครั้งคือ 10-15 % ซึ่งมากกว่าวิธีมีเองตามธรรมชาติ (3-4 % ต่อเดือน) ความสำเร็จของการฉีดเชื้อ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน เชื้ออสุจิ, ฟองไข่, รวมถึงเยื่อบุโพรงมดลูก โดยอธิบายได้ดังนี้
จำนวนเชื้อ และคุณภาพ
– การฉีดเชื้อช่วยเพิ่มจำนวนตัวเชื้อ ที่จะว่ายขึ้นไปถึงท่อนำไข่ ได้มากขึ้น เพราะธรรมชาติ เชื้อส่วนใหญ่ตายที่ช่องคลอด
– มีการปั่นแยกเพื่อช่วยคัดเลือก ลักษณะเชื้ออสุจิที่คุณภาพดี ทำให้โอกาสปฏิสนธิได้ดี
– ลดระยะทางการเดินทาง ของเชื้อให้ขึ้นไปที่ท่อนำไข่ได้เร็วขึ้น เนื่องจากฉีดเชื้อ เข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง
– ฉีดเชื้อตรงกับวันที่ไข่ตก ทำให้เพิ่มโอกาส การปฏิสนธิมากขึ้นจำนวนฟองไข่รอบฉีดเชื้อ เกิดจากการให้กินยา หรือยาฉีดกระตุ้น เพื่อเพิ่มจำนวนฟองไข่ ส่วนใหญ่ได้จำนวนฟองไข่ มากกว่ารอบธรรมชาติ ซึ่งมีเพียงใบเดียว ดังนั้น เมื่อมีจำนวนไข่มากขึ้น โอกาสที่จะท้องจึงมากขึ้นด้วย และมีโอกาสท้องแฝดมากขึ้นด้วย
– กำหนดการตกไข่ได้แม่นยำ เนื่องจากให้ยาช่วยทำให้ตกไข่ พร้อมกับฉีดเชื้อ ในช่วงที่เหมาะสม จึงทำให้โอกาสไข่ถูกผสมมากขึ้น
– รอบที่ฉีดเชื้อ จะมีการทำอัลตราซาวด์ ติดตามความหนาของเยื้อบุด้วย หากพบความหนาไม่เหมาะสม ก็จะช่วยแก้ไขให้ดีขึ้น จึงทำให้ตั้งครรภ์สำเร็จสูงขึ้นด้วย เหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ จากการฉีดเชื้อสูงขึ้น กว่าวิธีธรรมชาติ
ใครบ้างที่เหมาะจะเข้ารับการรักษาโดยการฉีดเชื้อฝ่ายหญิง
- ควรจะอายุน้อยกว่า 30 ปี หากอายุมากขึ้นความสำเร็จจะลดลง
- มีปัญหาปากมดลูกหรือคอมดลูกตีบ
- มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือ PCOS
- ท่อนำไข่ต้องปกติทั้งสองข้าง หรืออย่างน้อยต้องดีหนึ่งข้าง
ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิที่วิ่งดีมากเพียงพอมากกว่า 5 ล้านตัวขึ้นไป ใครที่ไม่แนะนำให้เข้ารับการรักษาโดยการฉีดเชื้อ - มีท่อนำไข่หรือปีกมดลูกอุดตันทั้งสองข้าง หรือไม่มีท่อนำไข่เหลือแล้ว
- มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน จากภาวะเยื้อมดลูกเจริญผิดที่ระดับรุนแรง
- เคยฉีดน้ำเชื้อมามากกว่า 4- 6 รอบแล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จ
- ฝ่ายชายมีเชื้อน้อยมากกว่า 1 ล้านหรือไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อได้
ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนรักษา
ฝ่ายหญิงและชาย รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ เสริมด้วยวิตามินที่เหมาะสม, ควรพักผ่อนเพียงพอ โดยนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, งดการสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ให้ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมน การรักษาได้ดียิ่งขึ้น, ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด รายละเอียดดังที่กล่าวข้างต้น
ขั้นตอนและระยะเวลาในการฉีดเชื้อ
- แพทย์ให้ยากระตุ้นรังไข่โดยการรับประทานหรือการฉีด บางกรณีอาจใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน เริ่มยาในช่วงวันที่ 3-5 ของรอบประจำเดือน ใช้ยาติดต่อไป 5 วัน เพื่อให้ฟองไข่เจริญเติบโตและมีจำนวนพอเหมาะ ประมาณ 1-3 ฟองต่อรอบ
- ในระหว่างการกระตุ้นไข่ จะมีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดหรือตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อประเมินการเจริญเติบโตและตอบสนองของฟองไข่
- เมื่อมีฟองไข่ขนาดโตเหมาะสมคือ 18-20 มิลลิเมตร จะมีการชักนำให้มีการตกไข่ด้วยยาฮอร์โมน หลังฉีดยาไข่จะตก 35-40 ชั่วโมงต่อมา
- ทำการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการเตรียมด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการเข้าสู่โพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก
- หลังจากฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูกแล้วอาจจะมีการให้ยาเสริมการทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์จะนัดมาทดสอบการตั้งครรภ์
โอกาสการประสบความสำเร็จ
โอกาสการตั้งครรภ์จากการคัดเลือกเชื้อฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกคือ 15-20 % ต่อรอบการรักษา ซึ่งขึ้นกับอายุของคู่สมรส, คุณภาพของน้ำเชื้อ, จำนวนฟองไข่ที่ตกในแต่ละรอบ, และสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก การตั้งครรภ์หลังจากฉีดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งครรภ์เดี่ยว มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดประมาณ 10-15%