ภาวะม่านตาอักเสบ (Uveitis)

ภาวะม่านตาอักเสบ (Uveitis)


เป็นอาการอักเสบของเนื้อเยื่อส่วนกลาง (Uvea) ภายในลูกตา โดยเนื้อเยื่อส่วนนี้ประกอบไปด้วย เส้นเลือดหล่อเลี้ยงมากมาย ดังนั้น เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น อาการจะส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ป่วยและต้องเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที เพราะเป็นโรคม่านตาอักเสบเป็นโรคอันตรายที่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ และหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่ตรงสาเหตุ อีกทั้งถ้าได้รับการรักษาช้าเกินไป ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น
      แบ่งตามกายวิภาค คือ แบ่งเป็นการอักเสบส่วนหน้า(anterior) ส่วนกลาง(interior) ส่วนหลัง(posterior) และทั้งหมดของดวงตา (panuveitis) รวมถึงตาขาวอักเสบและเส้นเลือดจอตาอักเสบ
      แบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น
      –  การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตชัว เชื้อรา เชื้อวัณโรค เป็นต้น
      –  การอักเสบที่สัมพันธ์กับการแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรค SLE โรคผิวหนังแข็ง(Scleroderma)  โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีน HLA-B27
      –  การอักเสบที่เกิดจากโรคทางกายอื่นๆ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มะเร็งเม็ดเลือด (Leukemia) เป็นต้น
      –  การอักเสบจากอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนบริเวณดวงตา การผ่าตัดตา
      –  การอักเสบที่เกิดจากการใช้ยา
      –  การอักเสบที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ (Idiopathic)

 ลักษณะอาการ

  • ปวดตามาก
  • สู้แสงไม่ได้
  • ระคายเคืองตา น้ำตาไหล
  • ตาแดง
  • เห็นจุดลอยไปมา
  • ตามัวลง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบและภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จุดรับภาพชัดจอประสาทตาบวม

การรักษา

หลักการรักษาภาวะม่านตาอักเสบคือแก้ไขที่ต้นเหตุ ควบคุมการอักเสบและลดภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดทั้งทางกายและทางตา ร่วมกับการตรวจร่างกายและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำแล้วจึงให้การรักษาต่อไป
  • รักษาโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการม่านตาอักเสบ ควบคู่ไปกับรักษาอาการม่านตาอักเสบ
  • หากอาการม่านตาอักเสบเป็นแบบชนิดไม่มีการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ที่มีทั้งแบบยารับประทาน ยาฉีด และยาหยอดตา
  • อาการม่านตาอักเสบเป็นแบบชนิดติดเชื้อ จะรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อทั้งแบบยารับประทาน หรือยาฉีด
  • อาการม่านตาอักเสบเป็นแบบชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้ยาแบบป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดอาการซ้ำด้วย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคม่านตาอักเสบแบบเรื้อรัง เมื่อทำการรักษาแล้วอาการก็จะหายไปเองในไม่กี่วันถึงไม่กี่สัปดาห์  แต่ก็ยังมีโอกาสที่อาการจะกลับมาเป็นใหม่ซ้ำได้อีกครั้งขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบแบบเรื้อรังนั้น อาจต้องใช้เวลาในการรักษาและอยู่กับอาการแบบเป็นๆ หายๆ นานหลายเดือนจนถึงหลายปี
Scroll to Top