การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

     การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งปากมดลูก หรือตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

  •  การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก แบ่งเป็นการตรวจแป๊ปสเมียร์แบบสามัญ (Conventional Pap Smear) และการเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC)
  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA แบ่งเป็นการตรวจร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV

ข้อแนะนำก่อนเข้ามารับการตรวจ

  •  ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
  • ไม่มีการเหน็บยาในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
  • ห้ามล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
  • งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจ

วิธีการปฏิบัติ

  1. ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างสะดวกในการตรวจ
  2. แพทย์ใช้เครื่องมือแพทย์ที่เรียกว่า Speculum ขนาดที่เหมาะสมใส่ทางช่องคลอด/เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง กรณีตรวจ แป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) แพทย์จะป้ายเซลล์บนแผ่นกระจกสไลด์

กรณีเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของแหลว (cy- prep)แพทย์จะใช้เซลล์ที่เก็บได้ใส่ในน้ำยาเก็บตัวอย่าง

ข้อเสีย ของวิธีการตรวจด้วยแป๊บสเมียร์ ถ้าเตรวจพบเซลล์ผิดปกติไม่สามารถส่งตรวจเพิ่มเติมได้

ข้อดี ของวิธีการเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยน้ำยา ถ้าเตรวจพบเซลล์ผิดปกติสามารถส่งตรวจเพิ่มเติมได้         

**เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะสอบถามที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของผู้รับการตรวจ เพื่อติดต่อผู้รับการตรวจแจ้งผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก**

     เมื่อตรวจพบมีความผิดปกติสูตินรีแพทย์ผู้ดูแลจะแปลผลรายงานพร้อมวางแผนการดูแลรักษาหรือตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมแจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบ เนื่องจากความผิดปกติที่เกิดกับปากมดลูกมีหลายแบบ คำแนะนำอาจแตกต่างกันไป บางรายจำเป็นต้องนัดเข้ามาตรวจเพิ่มเติม


Scroll to Top