การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมกับการย้ายตัวอ่อน

เตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกแบบไหน เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน

     ในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งคือ การเตรียมเยื่อบุโพรง มดลูกให้เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสม จะทำให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ดี อัตราการแท้งต่ำ และตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตเป็นทารกที่สมบูรณ์แข็งแรงได้อย่างเหมาะสม

เตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อย้ายตัวอ่อน เตรียมแบบไหนดี

     การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นการเตรียมความพร้อมของโพรงมดลูกให้คล้ายคลึงกับในรอบธรรมชาติ ให้เหมาะสมกับ อายุของตัวอ่อนที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้ว สามารถแบ่งวิธีการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกหลักๆ ได้ 2 วิธี

  1. เตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกตามรอบธรรมชาติ สามารถทำได้โดยการตรวจติดตามการเจริญพัฒนาของไข่ ตั้งแต่ ประจำเดือนมาจนถึงวันไข่ตก โดยการตรวจอัลตราซาวน์วัดขนาดของฟองไข่ และตรวจฮอร์โมนต่างๆ เป็นระยะๆ เมื่อตรวจ พบวันที่ไข่ตกแล้ว ก็สามารถกำหนดวันย้ายตัวอ่อนที่เหมาะสมตามอายุของตัวอ่อนได้ เช่น ถ้าตัวอ่อนเป็นระยะฝังตัว ก็จะ ทำการย้ายตัวอ่อนหลังจากไข่ตกแล้ว 5 วัน เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะเหมาะสมกับระยะของตัวอ่อน
  2. เตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกโดยใช้ยา สามารถทำได้โดยการทานฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพื่อเลียนแบบการ พัฒนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในรอบธรรมชาติ โดยในระยะประมาณ 2 สัปดาห์แรกจะเตรียมด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน จนกระทั่งเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาและลักษณะเหมาะสม จึงใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรนเพื่อทำให้ เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนแปลงและเหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน จึงทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก

การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกแบบไหนที่เหมาะกับเราที่สุด

     การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกแต่ละวิธี มีข้อดีและข้อเสีย ในการเตรียมด้วยวิธีธรรมชาติ เหมาะสมกับผู้หญิงที่มีไข่โตได้เอง สม่ำเสมอ สามารถตรวจติดตามได้บ่อย วิธีนี้จะใช้ฮอร์โมนเสริมไม่มาก จึงเหมาะกับคนที่มีผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมน หรือไม่สามารถใช้ฮอร์โมนได้

     สำหรับการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยยา สามารถใช้ได้ในผู้หญิงส่วนใหญ่ที่สามารถทานฮอร์โมนได้ จะกำหนดวันตรวจ ติดตามและวันที่จะทำการย้ายตัวอ่อนได้ง่าย ลดโอกาสที่ต้องยกเลิกการใส่ตัวอ่อนเนื่องจากการทำงานของรังไข่ผิดปกติ เช่น ไข่ไม่โตในรอบนั้น ๆ

หลังจากเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก จะทราบได้อย่างไรว่าเยื่อบุโพรงมดลกู และฮอร์โมนเหมาะสมกับการย้ายตัวอ่อน

    ในระหว่างการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก สิ่งสำคัญคือการตรวจติดตามลักษณะของโพรงมดลูกและระดับฮอร์โมนที่เหมาะสม โดยทั่วไปสามารถตรวจดูได้จากการทำอัลตราซาวน์ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสมก่อนไข่ตกในรอบธรรมชาติ หรือหลังจาก ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้ว ควรหนาประมาณ 9-13 มม. และมีลักษณะเป็น 3 ชั้น (รูปที่ 1) ไม่พบน้ำขังอยู่ในโพรงมดลูก และตรวจพบมีการไหลเวียนของเลือดบริเวณรอบๆ โพรงมดลูก หลังจากไข่ตก (ในรอบธรรมชาติ) หรือหลังจากได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (ในรอบเตรียมด้วยยา) ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนควรสูงประมาณ 10-20 ng/ml เพื่อให้การ ทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูก เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อนมากที่สุด

หลังจากย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลกู แล้ว ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยพยุงการตั้งครรภ์ต่ออีกนานแค่ไหน

     รกของตัวอ่อนจะสามารถสร้างฮอร์โมนเพื่อพยุงการตั้งครรภ์ได้เพียงพอหลังจากอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ดังนั้นหลังจากย้ายตัว อ่อนแล้วจึงต้องใช้ฮอร์โมนเพื่อช่วยพยุงการตั้งครรภ์ต่อ จนถึงหลังอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ จึงพิจารณาหยุดใช้ยาพยุงการ ตั้งครรภ์ได้


 

Scroll to Top