โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก

     ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือ เอชพีวี (HPV) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ระบบ ภูมิคุ้มกันจะพยายามป้องกันร่างกายจากเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามเชื้อ HPV อาจทำให้เชลล์ที่ปากมดลูกเกิดความ ผิดปกติและกลายเป็นเชลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็ง ปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

     ได้แก่ มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มีตกขาวผิดปกติ มีอาการเจ็บหรือมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ในระยะลุกลามอาจมีอาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะขัดหรือถ่ายอุจจาระลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น

     มะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งพบอุบัติการณ์ การเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย จากนั้นมีการผลักดันนโยบายการคัดกรองมะเร็งปาก มดลูกระดับประเทศขึ้นทำให้อุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกจัดอยู่ในอันดับ 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย

ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

     ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ เช่น โรคคลามายเดีย โรคหนองในแท้ โรคซิฟิลิส และโรคเอชไอวี หรือโรคเอดส์ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การสูบบุหรี่ และการมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

     เริ่มจากลดปัจจัยเสี่ยงในการก่อโรค ได้แก่ หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ งดสูบบุหรี่ นอกจากนี้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถป้องกัน การเกิดมะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง และการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูง ยัง สามารถป้องกันมะเร็งช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งช่องปากได้อีกด้วย โดยวัคซีน 2 และ 4 สายพันธุ์ สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% และวัคซีน 9 สายพันธุ์สามารถป้องกันการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90%

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีหลากหลายวิธีการ ดังนี้

  • การตรวจ Pap smear ความถี่ ทุก 2 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความ ผิดปกติติดต่อกัน 5 ครั้ง
  • HPV DNA testing ร่วมกับการตรวจเซลล์ วิทยา (co-testing) ความถี่ ทุก 5 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • HPV DNA testing (Primary HPV testing ความถี่ ทุก 5 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผล ตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง

 

Scroll to Top