บริการทางการแพทย์
ศูนย์กระดูกและข้อ
G Floor, open everyday
7:00-19:00 Tel. 02-129-5555
โรคกระดูกและข้อถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้เกือบตลอดเวลา เพราะร่างกายเราต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ หากเกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม ทั้งการนั่ง การยืน การเดิน การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา อุบัติเหตุต่างๆ ตลอดจนอายุที่เปลี่ยนแปลงไป ล้วนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกระดูกและข้อ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้
ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลปิยะเวท เป็นศูนย์ออโธปิดิกส์ระดับคุณภาพ ที่ไม่เพียงแต่ให้บริการตรวจและวินิจฉัยผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้อทุกชนิด แต่ยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสุขภาพและกายภาพบำบัด พร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ที่ก้าวเข้ามาที่นี่สามารถก้าวออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพอีกครั้ง
ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลปิยะเวท มีความพร้อมด้านการรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสากลและอุปกรณ์การตรวจที่ทันสมัย ทั้งยังได้รวบรวมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อมาจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดข้อ ผ่าตัดกระดูกและกระดูกสันหลัง ศัลยแพทย์ แพทย์ด้านมะเร็งกระดูก รวมถึงกระดูกในเด็ก เพื่อดูแลปัญหากระดูกและข้อให้กับผู้ป่วยในทุกช่วงวัย นอกจากนี้ยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา มาดูแลและให้คำปรึกษาสำหรับนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บเฉพาะทางอีกด้วย
อาการของโรคกระดูกและข้อ โรคกระดูกและข้อสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะกระดูกสันหลังคดจากความผิดปกติของกระดูกตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นเองในภายหลัง เช่น โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease) ซึ่งนับเป็นกลุ่มโรคที่คุกคามในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน อันเนื่องมากจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือยกของหนักผิดวิธี การบาดเจ็บของกระดูกและเส้นเอ็น การติดเชื้อ ตลอดจนเนื้องอกของกระดูกสันหลัง
อาการของโรคกระดูกจากทุกสาเหตุจะคล้ายคลึงกัน โดยมีลักษณะอาการสำคัญได้แก่
- ปวดกระดูกชิ้นที่เกิดโรค เช่น ปวดตามข้อ ปวดหลังเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย ปวดขาเวลาเดิน เป็นต้น
- เคลื่อนไหวร่างกายหรือกระดูกได้น้อยลง หรือไม่ได้เลย อาจเกิดจากโรคข้อกระดูกร้าว หรือกระดูกหัก
- รูปร่างของกระดูกผิดรูปไป
- ผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวกดทับเส้นประสาท มักเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณหลังและสะโพก กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง รวมทั้งปวดที่ขาทั้งสองข้าง
- อาจสัมผัสได้ถึงก้อนเนื้อในส่วนกระดูกที่เกิดโรคเมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง
การให้บริการของสถาบันกระดูกและข้อ
- บริการให้คำแนะนำและตรวจรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การรักษาโรคทางกระดูกสันหลัง
- การผ่าตัดข้อเข่าเทียม ข้อไหล่เทียม ข้อสะโพกเทียม
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทั้ง ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อมือ และข้อเท้า
- การรักษากระดูกหักและข้อเคลื่อน
- การรักษาอาการปวด หรือบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
- การรักษาโรคกระดูกอันสืบเนื่องมาจากความผิดปกติของการทำงานของเซลล์กระดูก รวมถึงภาวะกระดูกพรุน
- การผ่าตัดแก้ไขความพิการ แขน ขา ในผู้ป่วยเด็ก
- การผ่าตัดแก้ไขกระดูกผิดรูป
- การผ่าตัดรักษาโรคเนื้องอกกระดูก
- การรักษาโรคข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อมือ
แนวทางการตรวจรักษา ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลปิยะเวท มีแนวทางการรักษาที่ครอบคลุม ตั้งแต่การรักษาเบื้องต้นในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น การให้ยา การทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าไขสันหลัง หรือการรักษาภาวะข้อเสื่อมโดยเฉพาะบริเวณเข่า สะโพก โดยการฉีดน้ำไขข้อเทียม จนถึงการผ่าตัดที่ต้องพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสมโดยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงสุด ได้แก่
- การผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อม,คดโก่ง,กดทับเส้นประสาทในกลุ่มผู้สูงอายุ
- การผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทโดยใช้กล้อง (Microscopic spinal surgery),การจี้ด้วยคลื่นความร้อน (Nucleoplasty),การฉีดยารักษาตรงเส้นประสาทที่ออกจากกระดูกสันหลัง (Selective nerve root block)
- การผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมและหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท
- การผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังหักและเคลื่อนจากอุบัติเหตุ
- การผ่าตัดรักษาแก้ไขกระดูกสันหลังและกระดูกคอที่เคยได้รับการผ่าตัดแล้วล้มเหลว
- การผ่าตัดรักษาการติดเชื้อในกระดูกสันหลังและวัณโรคกระดูกสันหลัง
- การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด,งอ (Scoliosis)
- การรักษาและผ่าตัดผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเสื่อมโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมในโรคข้อเข่าเสื่อม,ข้อสะโพกเสื่อม,หัวกระดูกสะโพกตาย
- การผ่าตัดแก้ไขข้อเทียมที่สึกหรอ หมดสภาพให้ใช้งานใหม่ได้
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ
- การผ่าตัดตัดต่อนิ้ว มือ แขน ตัดต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาทรวมทั้งแก้ไขความพิการด้านเส้นประสาท (Brachial plexus injury) ที่เกิดจากอุบัติเหตุโดยใช้วิธีจุลศัลยศาสตร์ (Microscopic surgery)
- การผ่าตัดรักษาความพิการทางมือ,การผ่าตัดย้ายเส้นเอ็น (Tendon transfer)
- การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ (Wrist Arthroscopy)
- การผ่าตัดกระดูกข้อมือหัก และผิดรูป (Carpal bone fracture)
- ให้การรักษาโรคกระดูกในเด็กเช่น ความพิการทางด้านกระดูกและข้อที่เป็นมาแต่กำเนิดและพิการจากอุบัติเหตุเช่นกระดูกหัก ข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด ท่าเดินผิดปกติ รูปร่างเท้าผิดปกติ เท้าปุก
- การรักษาโดยใช้กายอุปกรณ์ให้สามารถเดินได้,การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
- ให้การรักษาและแนะนำด้านเวชศาสตร์การกีฬา อุบัติเหตุ และการเจ็บปวดเรื้อรังจากการเล่นกีฬา
- การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อเท้า ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุเอ็นฉีกขาด หมอนรองกระดูกฉีกขาด กระดูกอ่อนในเข่าฉีกขาด หัวไหล่หลุดเรื้อรังโดยผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้เจ็บตัวน้อยลงและฟื้นตัวเร็ว
- ให้การรักษาและผ่าตัดโรคกระดูกหักเนื่องจากอุบัติเหตุ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือจากการทำงาน
- การผ่าตัดแก้ไขกระดูกติดผิดรูป
- การผ่าตัดแก้ไขข้อติดเนื่องจากกระดูกหักเข้าข้อขั้นรุนแรง
- ผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งกระดูก, ผ่าตัดเนื้องอกกระดูก, ผ่าตัดมะเร็งกระดูกร่วมกับศูนย์มะเร็งวิทยา
- มีการตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนโดยเครื่องตรวจวัดมวลกระดูกและเจาะดูสภาวะการทำงานของกระดูกจากเลือด (Bone maker testing) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่
- การรักษาภาวะกระดูกสันหลังแตกร้าวและยุบตัวด้วยการฉีดซีเมนต์ (Percutaneous vertebroplasty)
- การรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เริ่มแรก
- การผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
เทคโนโลยีทางการรักษา
- การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทผ่านกล้อง (Microscopic spinal surgery)
- การผ่าตัดข้อด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery)
- ผ่าตัดข้อสะโพกเสื่อมด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำร่อง (Navigator System)
- การรักษาภาวะกระดูกสันหลังแตกร้าวและยุบตัวด้วยการฉีดซีเมนต์ (Percutaneous vertebroplasty)
- การรักษาโรคกระดูกสันหลังหักยุบเนื่องจากภาวะกระดูกพรุนโดยบอลลูน 2 เท่า ( Double Balloon Kyphoplasty)
การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทผ่านกล้อง (Microscopic spinal surgery) เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ที่จะช่วยลดขนาดแผลผ่าตัดให้เล็กลง ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องไมโครสโคป โดยเลนส์ที่ปลายกล้องจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของศัลยแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติอย่างชัดเจนและผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ จึงสามารถเลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหา โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก เทคนิคนี้ต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญสูง เพราะต้องอาศัยการฝึกฝนและมีประสบการณ์ที่มากพอ
ข้อดีของการผ่าตัดด้วยกล้องไมโครสโคป
- อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย
- ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ
- โอกาสในการเกิดพังผืดหลังผ่าตัดน้อยลง
- ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีรอบบริเวณผ่าตัด
- ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง
- ลดค่าใช้จ่ายลง
การผ่าตัดข้อด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) เป็นเทคโนโลยีการแพทย์เฉพาะทาง โดยใช้กล้องขนาดเล็กเพียง 2-5 มิลลิเมตร ทำให้มองเห็นสภาวะภายในข้อได้ชัดเจน เหมาะสำหรับการเย็บซ่อมเอ็นหมอนรองกระดูก เยื่อหุ้มข้ออักเสบ ตกแต่งผิวข้อที่เสื่อม เป็นต้น วิธีการผ่าตัดทำได้โดยสอดกล้องเล็กๆ ผ่านแผลเข้าไปในข้อ และจะใช้อุปกรณ์ผ่าตัดที่คล้ายดินสอขนาดเล็กในการตัดและซ่อมเนื้อเยื่อในข้อ สามารถใช้วิธีนี้ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะต่างๆ ที่เกิดกับข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือ และส่วนอื่นๆ
ข้อดีของการผ่าตัดด้วยกล้อง
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก
- ลดความเจ็บปวด
- ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
- ลดโอกาสติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ผ่าตัดข้อสะโพกเสื่อมด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำร่อง (Navigator System) การนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระบบนำร่อง (Navigation system) มาช่วยในการผ่าตัดข้อสะโพกเทียม คอมพิวเตอร์จะช่วยบอกมุมต่างๆ ของข้อสะโพกอย่างละเอียดในลักษณะ 3 มิติ โดยแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ ทำให้แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดเห็นภาพได้อย่างชัดเจนและมีการเคลื่อนไหวไปมาพร้อมๆ กับผู้ป่วยตลอดเวลา (Real Time)
ข้อดีของการผ่าตัดด้วย Navigator System
- ทำให้ทราบข้อมูลในทันทีระหว่างผ่าตัดและทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัยยิ่งขึ้น
- มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อยลง
- ช่วยให้ข้อสะโพกเทียมมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
การรักษาภาวะกระดูกสันหลังแตกร้าวและยุบตัวด้วยการฉีดซีเมนต์ (Percutaneous vertebroplasty)
เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังหักหรือทรุด และภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปอันเนื่องมาจากกระดูกพรุนเป็นหลัก รวมถึงผู้ป่วยที่มีเนื้องอกบริเวณไขสันหลังและไขสันหลังได้รับบาดเจ็บด้วย โดยแพทย์จะฉีดซีเมนต์เข้าไปในกระดูกสันหลังที่หักยุบ ภายใต้การควบคุมตำแหน่งโดยเครื่องถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกระดูกจากภายใน เสริมความแข็งแรงและมั่นคงแก่กระดูกที่หักยุบ ทำให้ลดอาการปวดลงไปได้
ข้อดีของการรักษาด้วยการฉีดซีเมนต์
- ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นขณะรักษาโรคกระดูกพรุน
- ใช้เวลาพักฟื้นน้อย โดยทั่วไปผู้ป่วยจะนอนพักที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น
การรักษาโรคกระดูกสันหลังหักยุบ เนื่องจากภาวะกระดูกพรุน โดยบอลลูน 2 เท่า ( Double Balloon Kyphoplasty)
เป็นนวัตกรรมใหม่ในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังหักยุบ เนื่องจากภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่ปวดหลังจากกระดูกสันหลังติดช้า ซึ่งเกิดจากกระดูกสันหลังหัก ยุบจากภาวะกระดูกพรุน รวมถึงผู้ที่มีเนื้องอกในกระดูกสันหลัง โดยใช้จำนวนบอลลูนมากกว่าการผ่าตัดแบบ Kyphoplasty เดิม 2 เท่า มาถ่างขยายกระดูกสันหลังชิ้นที่พรุนและหักยุบ เพื่อให้บอลลูนคงรูปร่างของกระดูกสันหลังที่หักหรือยุบตัวไว้ และสามารถยกกระดูกที่หักยุบนั้นขึ้นมาได้มากกว่าเดิม จากนั้นแพทย์จึงฉีดซีเมนต์เข้าไป เพื่อเชื่อมต่อกระดูก ฉีดเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะค่อยๆ ดึงเข็มออกและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อกระดูกสันหลัง 1 ชิ้น
ข้อดีของ Double Balloon Kyphoplasty